ขั้นตอนในการกระกอบติดตั้ง valve ที่ใช้งานกับ HP. Steam
1.1 ที่เขียนนี้จะเป็นตัวอย่างในการประกอบติดตั้ง valve สำหรับ HP. Steam ชนิดปลายสวมเชื่อม (socket weld end) วัสดุทำจาก F22
1.2 งานเตรียมท่อ (pipe preparation) ท่อที่จะเชื่อมต่อกับวาล์ว จะต้องตัดและทำปลายให้ตั้งฉากกับแนวท่อ ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการประกอบติดตั้ง
1.3 งานเตรียมวาล์ว (valve preparation)
- เปิดวาล์ว ประมาณ ¾ ให้ disc ห่างจาก seat เอาไว้ เพื่อป้องกันการอาร์คระหว่าง disc และ seat ในกรณีที่ลวดเชื่อมพลาดไปโดน handwheel หรือ stem
- การประกอบวาล์ว ให้ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนทำการเชื่อมก่อนว่า ตรงกับทิศทางการไหลของ steam หรือไม่
- ให้ตรวจดูที่ name plate วาล์ว ก่อนว่าตรงกับความดันและอุณหภูมิที่ต้องการหรือไม่
1.4 งานเชื่อม (welding procedure)
- ประกอบวาล์ว กับ ท่อ (กำหนด WPS ให้ชักเจน)
- ทำการ preheat (ให้ความร้อนก่อนเชื่อม) ประมาณ 232 0C โดยตรวจสอบด้วยชอล์ควัดความร้อน หรือเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ
- ตลอดการเชื่อม ต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิที่ preheat เอาไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 232 0C และไม่สูงเกินกว่า 315 0C
- ใช้ลวดเชื่อมที่อบแล้วตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต ยกตัวอย่าง AWS E-9018-B3
- ทำ postheat (ให้ความร้อนหลังเชื่อม) ถ้าวาล์วขนาดต่ำกว่า 3 นิ้ว ไม่จำเป็นต้อง post heating แต่ถ้าวาล์วมีขนาดโตกว่า 3 นิ้วขึ้นไปจำเป็นต้องทำ stress relieving, post heating โดยอย่าลืมเอา packing ออกเสียก่อน มิฉะนั้น packing อาจจะไหม้ได้
1.5 ขั้นตอนการทำ post heating
- ให้ความร้อนขึ้นไป 732 0C ด้วย induction heater (ขดลวดความร้อนใช้ไฟฟ้า) เป็นการให้ความร้อนกระจายแทรกไปอย่างทั่วถึง ควรดูคู่มือประกอบการใช้ induction heater ด้วย
- คงความร้อนไว้ที่ 732 0C นาน 1 ชั่วโมง ต่อความโต 1 นิ้วของวาล์ว นั้นหมายความว่าถ้าวาล์วขนาด 4 นิ้ว ก็คงความร้อนไว้ 4 ชั่วโมง
- เมื่อได้เวลาตามกำหนดแล้วก็ ค่อยๆ ลดความร้อนลงมาชั่วโมงละ 37.7 0C จนถึงอุณหภูมิปกติ
ข้อควรระวัง : การทำ post heating บริเวณแนวเชื่อมที่อุณหภูมิสูงและนานเกินกำหนด จะสงผลต่อโครงสร้างจุลภาคของเนื้อเหล็ก ซึ่งทำให้คุณสมบัติของเหล็กเปลี่ยนแปลงไป เช่น ความแข็งแรงลดลง, เกิดการฟอร์มคาร์ไบด์, ความต้านทานการกัดกร่อนลดลง, หรือเกรนโตผิดปกติ เป็นต้น และในทางกลับกัน ถ้าทำ post heating ที่อุณหภูมิและเวลาไม่ได้ตามกำหนดก็จะส่งผลทำให้ stress ยังหลงเหลือและตกค้างอยู่ก่อให้เกิดการแตกร้าวได้ในภายหลังจากการใช้งานได้ ***หากเกิดความผิดพลาดดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดย replica test (การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคบริเวณผิวโดยไม่ต้องตัดชิ้นงาน)***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น