วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการเก็บข้อมูลความเสียหายเบื้องต้น


    ผู้วิเคราะห์หรือผู้ที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นควรมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกบันทึกภาพของชิ้นส่วนที่เสียหาย และสภาพบริเวณข้างเคียง เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลหรือรายงานสภาพความเสียหายตลอดจนใช้ในการประกอบการพิจารณาความเสียหายด้วย เพราะชิ้นส่วนที่นำมาทำการวิเคราะห์มักจะถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป นอกจากนี้รูปภาพยังเป็นตัวอธิบายลักษณะของความเสียหายได้ดีที่สุดด้วย 

1. หลักการบันทึกภาพเพื่อประกอบการวิเคราะห์มีข้อแนะนำดังนี้
-          ควรบันทึกภาพชิ้นส่วนที่เสียหายและชิ้นส่วนใกล้เคียงโดยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนหรือซ่อม
-          บันทึกภาพเฉพาะจุดที่เสียหายโดยให้สามารถแสดงรายละเอียดของลักษณะความเสียหายให้มากที่สุด
-          ปรับแสงให้ถูกต้องเพื่อให้บันทึกภาพตรงตามความเป็นจริง สีที่ได้ไม่ผิดเพี้ยนจากของจริง
-          อาจจะต้องถ่ายภาพบริเวณที่เสียหายหลายๆ ด้านเพื่อให้ได้รายละเอียดที่สมบูรณ์
-          ผู้บันทึกภาพจะต้องแน่ใจว่าภาพที่ได้ไม่เสียหรือถ่ายไม่ติด
-          การถ่ายภาพขยายจะให้ประโยชน์แก่ผู้วิเคราะห์ได้มากเพราะจะสามารถเห็นรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
-    ทุกครั้งที่บันทึกภาพชิ้นส่วนที่เสียหายควรมีสิ่งที่สามารถอ้างอิงได้ถึงขนาดของชิ้นงาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร ปากกา ฯลฯ แม้กระทั่ง นิ้วมือก็สามารถนำมาใช้ได้ กรณีชิ้นงานมีขนาดใหญ่มากๆ ก็สามารถเอาคนไปยืนเพื่อเปรียบเทียบขนาดได้เช่นเดียวกัน
-           
2.     การเก็บข้อมูลประวัติการใช้งาน
ประวัติการใช้งานที่สมบูรณ์และละเอียดย่อมเป็นตัวนำไปสู้การวิเคราะห์ที่ถูกต้องและตรงเป้าหมายมากที่สุด ดังนั้น ผู้ที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยงกับการใช้งานจริงจำเป็นต้องทำอย่างละเอียดและเอาใจใส่เป็นพิเศษ มีหลายครั้งที่ผู้วิเคราะห์ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานทำให้ผู้วิเคราะห์ต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถพิเศษเข้าช่วย โดยมากมักจะใช้การตัดสินใจและ ในบางครั้งการได้รับข้อมูลผิดๆ ก็ยังเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับผู้วิเคราะห์เป็นอันมาก ทั้งนี้เพราะผลที่ได้จากการตรวจเช็คทาง Lab ไปขัดแย้งกับข้อมูลที่ได้มาผิดๆ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายมากในงานวิเคราะห์ความเสียหาย
 ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้งานของชิ้นส่วนและอุปกรณ์แต่ละตัวจะไม่เหมือนกันซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้บันทึกข้อมูลด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้อย่างกว้างๆ ได้ดังนี้

-   หลักการทำงานและหน้าที่ จุดเริ่มต้นที่ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบก็คือ หลักการทำงาน, หน้าที่ของชิ้นส่วนที่จะทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น wall tube เป็นส่วนประกอบของ boiler ซึ่งบริเวณที่น้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นไอน้ำ, nozzle สำหรับฉีดน้ำมันให้เป็นละออง เพื่อให้เผาไหม้ภายไหม้ภายในห้องเผาไหม้ เป็นต้น
-      สภาพแวดล้อมขณะใช้งาน เป็นตัวที่จะบอกให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่าชิ้นส่วนนั้นอยู่ในสภาพเช่นใด ต้องอยู่ในสภาพกรด หรือ ด่าง มีส่วนที่จะทำให้เกิด Corrosion, Erosion ได้หรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น
-    อุณหภูมิในการทำงาน จะเป็นตัวบอกให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นในลักษณะอุณหภูมิต่ำหรือสูง และในระหว่าง Operate อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเท่าไร นอกจากอุณหภูมิใช้งานยังเป็นตัวบอกถึงการ Design ด้วยว่าเลือกใช้วัสดุถูกต้องหรือไม่
-   ลักษณะของแรงที่กระทำ เช่น รับแรง torsion, tension, bending หรือ หลายลักษณะรวมกัน และเป็นแรงขนาดปกติ หรือสูงกว่าปกติ (overload) หรือมีการเปลี่ยนแปลง load อยู่ตลอดเวลา cyclic load เป็นต้น
-       วัสดุที่ใช้ เป็นตัวบอกให้เราทราบว่า material ที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่กับสภาพการใช้งานที่เป็นอยู่ ในบางครั้งวัสดุที่ใช้อยู่เดิมอาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีที่ดีกว่าก็ได้
-        อายุการใช้งาน เป็นตัวบอกได้ว่าชิ้นส่วนนี้เสียหายเพราะใช้งานมานานแล้วหรือไม่และในกรณีที่อายุการใช้งานสั้นเกินไปก็อาจจะมีการพิจารณาหาทางแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น
-       ลักษณะของการ operate ถ้าผู้วิเคราะห์สามารถทราบถึงการ operate ว่ามีการใช้งานในลักษณะใด เช่น เดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง, วันละ 8 ชั่วโมง หรือ จ่าย load 70% ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถทราบไว้ว่าเครื่องจักรทำงานในสภาพปกติหรือหนักเกินไป ตลอดจนสามารถทำนายได้ว่าชิ้นส่วนนั้นต้องรับ load ในลักษณะ cyclic load ด้วยความถี่เท่าใด บางครั้งชิ้นส่วนที่เสียหายไม่เหมาะที่จะรับ load ที่เปลี่ยนแปลงบ่อย แต่การหยุดเครื่องบ่อยก็เป็นการเปลี่ยนแปลง load เช่นกัน ดังนั้น ลักษณะของการ operate จึงให้ประโยชน์แก่ผู้วิเคราะห์ได้มาก

     นอกจากที่กล่าวมาแล้วอาจจะมีข้อมูลอื่นๆ อีกก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพของชิ้นงานด้วย มีบ่อยครั้งที่ผู้วิเคราะห์ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานไปแล้ว แต่เมื่อทำการทดสอบไปแล้วต้องกลับมาหาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเพิ่มเติมอีกทั้งนี้เพราะผู้วิเคราะห์ยังไม่สามารถตัดสินใจร่วมกับข้อมูลเดิมได้จึงต้องหาข้อมูลไปประกอบกาพิจารณาอีกด้วย

3.     การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนเสียหาย
    ข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำมาประกอบการพิจารณาความเสียหายจะต้องสอดคล้องกับชิ้นงานที่จะทำการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพราะข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงจะสามารถให้ประโยชน์ต่อการวิเคราะห์มาก และยังเป็นตัวชี้แนวทางของการวิเคราะห์ความเสียหายว่าควรจะทำการตรวจสอบอะไร, ทดสอบหาค่าอะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราจะรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโรงงาน, ขั้นตอนหรือวิธีการผลิตชิ้นส่วน และประวัติการใช้งานของชิ้นส่วนที่เสียหาย และอาจจะรวบรวมข้อมูลของชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เพราะชิ้นส่วนเหล่านั้นอาจจะเป็นตัวนำไปสู่ความเสียหายก็ได้
    การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานหรือการผลิตชิ้นส่วนขึ้นมานั้นสามารถที่จะเริ่มค้นหาจาก Specification ของชิ้นส่วน, Drawing และขอมูลจากการ Design ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโรงงาน และการผลิตนั้นอาจจะแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
3.1 ขบวนการทางกล ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนการใดขบวนการหนึ่ง หรือ หลายขบวนการรวมกันก็ได้ เช่น Cold forming, Stretching, Bending, Machining, Polishing และ Grinding
3.2 ขบวนการทางความร้อน ประกอบด้วยรายละเอียดประเภท Hot forming, heat treating, Welding, Brazing หรือ Soldering
3.3 ขบวนการทางเคมี ประกอบด้วยรายละเอียดประเภท Cleaning, Electroplating และ การ Coating โดย Chemical alloying หรือ Deffusion เป็นต้น



ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างการหาความผิดปกติของท่อ Boiler tube โดยการใช้แสงส่องตรวจหา
พร้อมระบุขนาดและตำแหน่งการบวมของท่อ



ภาพที่ 2 แสดงตำแหน่งการแตกของท่อ Boiler tube พร้อมระบุขนาดและตำแหน่ง

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษาปั๊ม

ภาพตัวอย่างปั๊ม

  การบำรุงรักษาเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องคอยปฏิบัติทั้งขณะที่ใช้งานตามปกติ และไม่ได้ใช้งานโดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำหรือปั๊มเพื่อให้เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มนั้นสามารถใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา สำหรับการบำรุงรักษาและการตรวจสอบ ควรที่จัดทำสมุดบันทึก เพื่อให้ทราบถึงการดูแลรักษา และตรวจสอบว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ถ้ามีอะไรผิดปกติจะได้ทราบถึงที่มาของความผิดปกตินั้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีรายละเอียดการตรวจสอบดังต่อไปนี้
เวลาและสถานที่ที่จะทำการตรวจสอบ
1.     การตรวจสอบรายวัน สิ่งที่ควรตรวจสอบได้แก่
-         อุณหภูมิของตลับลูกปืน
-         ท่อทางดูดและแรงดันของน้ำ
-         รอยรั่วของปั๊ม
-         เติมน้ำมันหล่อลื่นของตัวตลับลูกปืนที่จุ่มอยู่ในน้ำ
-         เช็คระดับน้ำมันของตลับลูกปืน
-         อุณหภูมิ และความดันของน้ำมันหล่อลื่นในห้องเกียร์
-         อุณหภูมิและความดันของน้ำหล่อลื่นเป็นทั้งทางด้านเข้า และออก
-         กำลังของเครื่องต้นกำลัง
-         เสียงและการสั่นสะเทือน
2.     การตรวจสอบรายเดือน สิ่งที่ควรตรวจสอบได้แก่
-         เช็คศูนย์ของเกียร์ และตัวขับว่าอยู่ในระดับที่ใช้งานได้หรือไม่
-         ถ่ายน้ำมันตลับลูกปืน
3.     การตรวจสอบรายปี สิ่งที่ควรตรวจสอบได้แก่
-         ตรวจสอบรอยรั่วระหว่างรอยต่อของปั๊ม
-         เช็ค Shaft Sleeves ว่าผิวคงใช้งานได้ดีหรือไม่
-         ระยะห่างระหว่างใบพัดกับตัวปั๊ม
-         ตั้งหรือปรับค่าระยะห่างให้ได้
การซ่อมภายใน
    เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ระยะเวลาที่จะต้องทำการซ่อมภายใน ว่าจะต้องทำเมื่อใด ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ และของเหลวที่ใช้กับปั๊มว่ามีลักษณะเช่นใด โดยทั่วๆ ไปแล้วปั๊มไม่จำเป็นต้องเปิดออกมาตรวจสอบ แต่ในกรณีที่เกิดการกัดกร่อนของใบพัด ซึ่งเกิดขึ้นจากของเหลวที่ใช้ดูด มันเป็นการยากที่จะซ่อมแซมโดยไม่เปิดออกดู อย่างไรก็ตามถ้าใช้ปั๊มกับของเหลวที่มีคุณสมบัติกัดกร่อนโลหะ ก็ควรที่จะต้องเปิดออกดูอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะได้ทราบว่าควรที่จะต้องซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ทดแทนหรือไม่
การตั้งศูนย์เพลา
       ก่อนที่จะส่งปั๊มออกจากโรงงาน ทางโรงงานได้ตั้งศูนย์ของเพลาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ถ้าปั๊มที่จะประกอบและติดตั้งนอกสถานที่ ทางโรงงานจะดำเนินการตั้งศูนย์เพลาให้เรียบร้อยก่อนส่งมอบของ เพื่อความไม่ประมาทถ้าฐานที่จะตั้งปั๊มมีความแข็งแรงน้อย ก็ควรจะต้องเช็คศูนย์เพลาโดยสม่ำเสมอ
ข้อต่อหน้าแปลน (Flange Coupling)
     ตามภาพที่ 1A ติดเครื่องวัด Dial Indicator ไว้ที่ด้านหนึ่งของหน้าแปลน เซ็ทเครื่องวัดไว้ที่ศูนย์ หมุนเพลาไปตำแหน่ง 00 , 900 , 1800 , 2700 ของหน้าแปลนอ่านค่าตัวเลขแล้วจดบันทึกไว้ 
เลื่อนเครื่องวัดตามรูป 1B เซ็ทเครื่องวัดไว้ที่ศูนย์ หมุน Coupling ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตรวจสอบแนวขนานของหน้าแปลน  จดบันทึกไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตารางที่ 1 ถ้าค่าไม่มากกว่าค่าในตาราง ก็แสดงว่าใช้ได้
ข้อต่อแบบเกียร์ (Gear Type Coupling)
        วิธีวัดก็เหมือนกับข้อต่อหน้าแปลน ถ้าค่าศูนย์เพลา และแนวขนานของข้อต่อใกล้เคียงกับในตารางที่ 1 แสดงว่าไม่มีปัญหาในการเดินเครื่อง ถ้าจะประกอบต่อเข้ากับหน้าหลังจากการตั้งศูนย์แล้ว ขั้นแรกให้ทำเครื่องหมายบนหน้าแปลนทั้ง 2 เป็นเส้นตรงก่อนที่จะถอด เมื่อเวลาจะใส่ให้เส้นทั้งสองเป็นแนวเดียวกัน แล้วจึงขันน็อตล็อค
Automatic Centrifugal Clutch
     ดังภาพที่ 3A ตั้งเครื่องวัด (Dial Indication) ที่เพลาต้องการวัดเส้นรอบวงนอกของ Drum โดยการหมุนเพลาและอ่านค่าที่ 00 , 900 , 1800 , 2700 แล้วบันทึกไว้ เปลี่ยนแนวการวัดไปที่ Drum ตามภาพ 3B เพื่อวัดแนวขนาน ถ้าค่าที่ได้ใกล้เคียงตารางที่ 1 เป็นอันใช้ได้ 
ค่าการยอมรับได้ของ Centering
     จากการวัดค่าต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ค่าที่ได้ใกล้เคียงกับค่าตารางที่ 1 แสดงว่าไม่มีปัญหาในการเดินเครื่อง และไม่มีปัญหาทาง Centering
บูชยางสำหรับ Bolt และ Flange Flange coupling
    บูชยางสำหรับหน้าแปลน ถ้าใช้งานมาเป็นระยะเวลานานก็จะเสื่อมสภาพ ถ้าปล่อยให้เป็นอยู่อย่างนั้น จะเป็นสาเหตุให้เกิดการสั่น และทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบกำลัง และจะส่งผลตามมามากมาย ทางที่ดีถ้าเป็นไปได้ควรจะเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 2 ปี หรือตามสภาพใช้งาน 
น้ำมันหล่อลื่นของ Coupling ชนิด Gear Type
      สำหรับน้ำมันหล่อลื่นของ Coupling ชนิด Gear Type ควรจะใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีค่า Viscosity 90-100 CST (98.9 0 C) Extreme Pressured จารบีหล่อลื่นก็ควรใช้ แต่ต้องมีค่าต่ำกว่าน้ำมันเกียร์ 
การเติมน้ำมันหล่อลื่น
1.     เติมให้ได้ระดับที่ต้องการ
2.     หลังจากใช้งานแล้วประมาณ 3 เดือน ให้ถ่ายน้ำมันเก่าออกแล้วทำความสะอาด จากนั้นเติมน้ำมันใหม่
3.     ตรวจสอบระดับน้ำมัน และคอยเติมถ้าต้องการ
การใส่และการประกอบ Gland Packing
1.     ระวังอย่าให้ด้านไดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว เพราะจะทำให้ปั๊มร้อนเกินไป
2.     วิธีที่ดีที่สุด อย่าให้เกิดการรั่วที่ใดที่หนึ่งได้  เพราะมันเป็นการป้องกันการร้อนจัด และความสกปรกที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การถอดประกอบ Gland Packing
    อย่างแรกถ้าจำเป็นที่จะต้องถอดตัวเก่าออก การถอดประกอบปั๊มเพื่อที่จะเปลี่ยน Gland Packing ตัวใหม่ที่จะใส่เข่าไปนั้นจะต้องเป็นชิ้นส่วนอะไหล่ชนิดเดียวกันเท่านั้น
    เครื่องมือที่จะต้องใช้ในการถอด Gland Packing ควรเป็นสกรูเกลียวปล่อย ซึ่งหัวสกรูเชื่อมต่อด้ามออกไปมีลักษณะคล้ายตัว T ตามรูปที่ 4 การถอดก็ใช้สกรูขันเข้าไปใน Gland Packing แล้วค่อยๆ ดึงออกระวังอย่าให้ถูก Shaft Sleeves  
Gland Packing ตัวเก่าที่ถอดออกมาแล้วนั้นไม่สามารถที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากมันหมดสภาพในการใช้งาน หลังจากถอดออกมาแล้วให้ตรวจดู Stuffing Box และ Gland ว่ายังคงใช้งานได้หรือไม่ เสร็จแล้วให้ทำความสะอาดอย่างดี แล้วตรวจดู Flushing pipe ว่ามีรอยรั่วหรือไม่
      ต่อไปตรวจดูชิ้นส่วนภายในว่ามีการสึกหรอมากหรือไม่ ถ้าเพลามีรอยก็ให้จัดการทำให้เรียบ แต่ถ้าเพลาสึกหรอมากก็ให้จัดการเปลี่ยนใหม่ และจำเป็นที่จะต้อง Overhaul ใหม่ด้วย ทางที่ดีควรจะตรวจสอบส่วนอื่นๆ ด้วย
การปับแต่ง Gland Packing
      ควรระมัดระวังในการใส่ Gland Packing เพราะจะต้องเป็นขนาดเดียวกันและเหมือนกันกับตัวเก่าที่ถอดออกมา แต่ขนาดของ Gland Packing นั้นจะเป็นม้วนมาตรฐานถ้าในกรณีที่ยาวกว่าหรือไม่เหมาะสมกับ Stuffing Box แล้วเราจะต้องทำให้เท่ากับของเดิม หรือขนาดของ Stuffing Box ดังภาพที่ 5
ตัด Packing ตามภาพแล้ววางลงบนพื้น ใช้ท่อน้ำหรือเหล็กทรงกระบอกที่มีขนาดเท่ากับเพลา (เพลาอะไหล่ดีที่สุด) กลิ้งลงบน  Packing ให้สม่ำเสมอจนได้ที่ เสร็จแล้วนำมาพันรอบเพลาให้ได้พอดีแล้วจึงตัดให้ได้ความยาวตามที่ต้องการ  ดังภาพที่ 6 เสร็จนำออกมาทาน้ำยาก่อนที่จะประกอบเข้าไป
การการใส่ประกอบ Packing
     การใส่ประกอบค่อยๆ ใส่ Packing เข้าในเพลาโดยพยายามให้ช่องห่างระหว่างรอยตัดมีน้อยที่สุด เพื่อที่จะไม่ทำให้ Packing หักออกจากกัน ซึ่งจะทำให้ Packing ใช้การไม่ได้ ดังภาพ 7
      ในการประกอบ Packing ช่องรอยตัดของ Packing แต่ละตัวพยายามอย่าใส่ให้ตรงกันควรใส่สลับกันเป็นมุม ดังภาพที่ 8 และควรจะรัดให้แน่น
การทำวิธีนี้เป็นวิธีควรจะใช้กับแบบ Double split type ซึ่งสามารถที่กวดให้แน่นได้ตัวต่อตัว 
หลังจากที่ได้ประกอบใส่ Packing เรียบร้อย ต้องกวดให้แน่นแล้วปล่อยทิ้งไว้สักพักหนึ่งก่อนเพื่อที่จะทำให้แรงอัดได้แผ่ขยายออกไป สุดท้ายให้คลาย Bolt ที่รัดออกสักหน่อยแล้วจึงกวดกลับเข้าไปอย่างเดิมอีกที 
การเริ่มอุ่นเครื่อง
พยายามหมุน Coupling ด้วยมือก่อนว่ามีการติดขัดอะไรหรือเปล่า นอกจากนั้นเริ่มเดินเครื่องและคอยสังเกตรอยรั่ว ถ้าเกิดมีการรั่วมากก็ปล่อยทิ้งไว้สักพักหนึ่งก่อน เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ เซ็ทตัว แล้วจึงกวดให้แน่นเข้าไปเพื่อที่จะไม่ให้รั่วอีก
ระยะเวลาอุ่นเครื่องนี้ควรที่จะให้เวลากับเครื่องเพียงพอ เพื่อที่จะทำให้ Packing ปรับตัวมัน เองโดยสมบูรณ์ ถ้ามีการรั่วเพิ่มขึ้นให้กวด Gland Packing ให้แน่เข้าไปอีกแต่ระวังอย่างให้แน่นมากเกินไปจะทำให้ Packing เสียหายได้ โดยปกติ 1/6 รอบของน๊อตเท่ากับหนึ่งครั้งของการปรับ แต่ต้องคอยระวังอย่างให้แน่นเพียงด้านใดด้านเดียว เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของ Packing สั่นลง และจะทำให้เป็นอันตรายต่อเพลา เนื่องจาก Packing เสียดสีกับเพลามากเกินไป
ตลับลูกปืน (Bearing)
ความร้อนของตลับลูกปืน
     ระหว่างการใช้งานความร้อนจะเกิดขึ้นจากผิวสัมผัสของตัวลูกปืนกับผิวของตลับโดยมีน้ำมันหล่อลื่นเป็นตัวระบายความร้อน ซึ่งเป็นการยากที่จะบอกให้ว่าอุณหภูมิเท่าไรจึงจะเกิดอันตรายขึ้นกับตลับลูกปืนเพราะมันก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันหล่อลื่น โครงสร้าง และวัสดุที่ใช้ทำตลับลูกปืน อุณหภูมิใช้งานโดยทั่วไปของตลับลูกปืนที่ใช้ในปั๊มน้ำ (JIS) โดยจะทำการวัดที่น้ำมันหล่อลื่นรอบๆ ตลับลูกปืน อุณหภูมิบรรยากาศจะต้องไม่เกิน 40 0C ซึ่งจะยกตัวอย่างสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดการ Over heating ได้ คือ
1.     ศูนย์ของปั๊มไม่ตรง (ตัวปั๊มเอียง) ถ้าเดินเครื่องในขณะที่ตัวปั๊มเอียง หรือไม่ได้ศูนย์นั้น จะทำให้ตลับลูกปืนรับภาระหนักมากขึ้นกว่าค่าที่ได้ออกแบบมา ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น การตั้งศูนย์ได้บอกไว้แล้วก่อนหน้านี้
2.     น้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ ถ้าน้ำมันหล่อลื่นในห้องตลับลูกปืนไม่เพียงพอจะทำให้ปริมาณน้ำมันที่ไปหล่อเลี้ยงพื้นผิวสัมผัสของตลับลูกปืนขาดหายไป ทำให้ตัวลูกปืนร้อนจัดมาก ทางที่ดีควรตรวจเช็คระดับน้ำมันบ่อยๆ
3.     ชนิดของน้ำมันหล่อลื่นไม่ตรงกับที่ออกแบบมา ถ้าค่า Viscosity ของน้ำมันไม่สัมพันธ์กับค่าของความเร็วเพลา จะทำให้ฟิล์มที่เคลือบอยู่กับตลับลูกปืนขาดเป็นตอนๆ ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ตลับลูกปืนร้อนจัด ทางที่ดีควรใช้ชนิดน้ำมันหล่อลื่นให้ถูกต้อง
4.     ไม่ได้ปรับตลับลูกปืน ในกรณีที่ใช้ Roller Bearing ถ้าใส่เพลากับตลับลูกปืนติดแน่นกับ Case มากเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้ลูกปืนร้อนจัดได้
องค์ประกอบอื่นๆ เช่น การกัดกร่อน, การเสียดสีเนื่องจากฝุ่นละออง และการเกิดสภาพความเป็นแม่เหล็กภายในตลับลูกปืนทำให้เกิด Spark ส่งผลทำให้ผิวสัมผัสเกิดความขรุขระ ทำให้ลูกปืนสึกหรอในอัตราที่รวดเร็ว (เรื่องนี้จะขอกล่าวในโอกาสต่อไป)
เสียงและการสั่นสะเทือน
ไฮโดรลิค และ เครื่องกล เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงและการสั่นสะเทือนได้ จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1.     แรงสั่นสะเทือนจากการเสียดสี
2.     แรงสั่นสะเทือนและเสียงที่เกิดจากกระแสน้ำ หรือของไหลนั้นๆ
3.     แรงสั่นสะเทือนและเสียงที่เกิดจากโพรงอากาศ
4.     แรงสั่นสะเทือนและเสียงที่เกิดจากการหมุนของเพลา
5.     การสั่นสะเทือนที่มาจากสาเหตุอื่นๆ
-         เพลาไม่ได้ศูนย์
-         แรงเสียดทานภายในของเพลา
-         แรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากตัวขับ
-         เกิดจากส่วนประกอบของปั๊ม
ขีดจำกัดความสึกหรอ
   ถ้าปั๊มถูกใช้งานในระยะเวลาอันยาวนาน ชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ย่อมเสื่อมสภาพลงจึงเป็นสาเหตุให้เกิด Clearance เพิ่มมากขึ้น ความสั่นสะเทือนก็เพิ่มมากขึ้น และประสิทธิภาพจะลดน้อยลง ขีดจำกัดของความสึกหรออธิบายได้ยากเพราะต้องดูและจดค่าต่างๆ ทุกๆ จุด ดังตารางที่ 3
 ตารางที่ 3 ขีดจำกัดความสึกหรอของส่วนที่เคลื่อนที่

ตารางที่ 4 ตารางสาเหตุและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปั๊ม
    ปั๊มถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอุปกรณ์หนึ่งในระบบสายการผลิต หากเกิดการขัดข้องเสียหาย จะส่งผลให้การผลิตต้องหยุดชะงัก นั้นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมามากมาย ดังนั้น จึงควรดูแลเอาใจใส่ตรวจสอบสภาพปั๊มอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องถือเป็นการดีครับ
ตัวอย่างการทำงานของปั๊มแบบที่ 1

ตัวอย่างการทำงานของปั๊มแบบที่ 2

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดเหล็ก

               ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเหล็ก ซึ่งมีอยู่มากมายและใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันเมื่อมองไปรอบๆ ตัวก็จะพบว่าสิ่งที่ทำมาจากเหล็ก ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ช้อน ซ่อม แม้กระทั้งรถยนต์หรือที่อยู่อาศัยของเรา ก็มีองค์ประกอบเป็นเหล็ก แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่าเหล็กมาจากไหนแล้วมนุษย์เรานำเหล็กมาใช้ได้อย่างไร
            จากข้อมูล เหล็กเป็นโลหะที่สำคัญ ซึ่งใช้มากกว่าโลหะชนิดอื่นๆ ทั่วโลกผลิตเหล็กประมาณร้อยละ 96 ของโลหะทั้งหมดโดยเฉลี่ยในแต่ละปี การผลิตเหล็กในอุตสาหกรรม เริ่มเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 แต่ยังมีอุปสรรคในการผลิตและไม่สามารถผลิตเหล็กได้ครั้งละมากๆ ยุคเหล็ก (Iron Age) จึงเริ่มต้นอย่างจริงจังในพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการถลุงเหล็กจากแร่เหล็ก โดยใช้เตาถลุงแบบพ่นลม (blast furnace) เชื้อเพลิงที่ใช้ในตอนแรกคือถ่านไม้ ต่อมาใช้ถ่านหิน (coal) ปัจจุบันนี้ใช้ถ่านโค้ก (coke) แทนถ่านหิน เหล็กที่ผลิตได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเหล็กคุณภาพไม่ดีนัก ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเหล็กถลุง (pig iron) แม้จะเป็นเหล็กคุณภาพไม่ดี แต่ก็มีผู้นิยมนำไปใช้ประโยชน์ เพราะมีคุณสมบัติดีกว่าโลหะอื่นๆ ในพุทธศตวรรษที่ 23 เซอร์ เฮนรี เบสเซเมอร์ (Sir Henry Bessemer, ค.ศ. 1813 -1893 วิศวกรชาวอังกฤษ) พบวิธีทำเหล็กถลุงให้มีคุณ-สมบัติดีขึ้นเรียกว่า เหล็กกล้า (steel) ซึ่งสามารถชุบเพิ่มความแข็งได้  และมีคุณสมบัติอื่นๆ ดีขึ้น การค้นพบของเซอร์ เฮนรี เบสเซเมอร์ ทำให้สามารถผลิตเหล็กกล้าได้อย่างรวดเร็ว ครั้งละมากๆ และประหยัด ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก
              แร่เหล็กมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีส่วนประกอบแตกต่างออกไป แร่เหล็กมีกระจัดกระจายเกือบทั่วโลก แต่แร่เหล็กที่มีคุณภาพดี มีจำนวนเนื้อแร่สูง และมีปริมาณแร่มากพอที่จะใช้ผลิตเหล็กได้มีอยู่ไม่มากแห่งนักชนิดของแร่เหล็กมีดังนี้คือ
         1. แร่ฮีมาไทต์ (hematite) เป็นแร่ที่เหมาะจะใช้ถลุงเหล็ก เหล็กของแร่นี้อยู่ในรูปของออกไซด์ มีสูตรทางเคมีว่า Fe2O3 เป็นแร่เหล็กที่มีสีแดง มีเหล็กประมาณร้อยละ 70 พบมากในประเทศสหรัฐ-อเมริกา สหภาพโซเวียตออสเตรเลีย
         2. แร่แมกนีไทต์ (magnetite) เป็นแร่ที่เหมาะจะใช้ถลุงเหล็กเช่นเดียวกับ แร่ฮีมาไทต์ มีสูตรทางเคมีว่า Fe3O4 มีสีดำ และมีเหล็กประมาณร้อยละ 72- 73 พบมากในประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน และประเทศจีน
         3. แร่ซิเดอไรด์ (siderite) เป็นแร่สีน้ำตาลมีจำนวนเนื้อแร่ต่ำ และเหล็กอยู่ในรูปของคาร์บอเนตมีสูตรทางเคมีว่า FeCO3 มีเหล็กประมาณร้อยละ 47-49 ไม่ค่อยนิยมนำไปถลุงเพราะมีปริมาณเหล็กต่ำ แร่ชนิดนี้ พบมากในประเทศสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรและเยอรมัน
     4. แร่ไลมอไนต์ (limonite) แร่ชนิดนี้มีสีน้ำตาลเหล็กในแร่รวมตัวเป็นสารประกอบในรูปของออกไซด์มีสูตรทางเคมีว่า Fe2O3 X (H2O) มีเหล็กประมาณร้อยละ 60-65 พบมากในประเทศสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส
         5. แร่ไพไรต์ (pyrite) เหล็กในแร่อยู่ในรูปของซัลไฟด์มีสูตรว่า FeS2 มีสีน้ำตาล มีเหล็กประมาณร้อยละ 60 เนื่องจากเหล็กอยู่ในรูปของซัลไฟด์ จึงไม่นิยมนำไปถลุง เพราะกำมะถันที่อยู่ในแร่ทำให้เหล็กที่ถลุงได้มีกำมะถันปนกลายเป็นเหล็กที่เปราะ ส่วนชื่อเรียกแร่แต่ละชนิดไม่แน่ใจว่าเรียกกันตามผู้ค้นพอหรือเปล่า อันนี้ไม่ทราบจริงๆ ใครทราบรบกวนช่วยบอกกล่าวกันให้ทราบหน่อยจะขอบคุณมากเลยครับ


      และในประเทศไทยเท่าที่สำรวจ พบแร่เหล็กอยู่หลายบริเวณ เช่น แหล่งแร่เหล็กเขาทับควาย จังหวัดลพบุรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมืองจังหวัดเลย เขาอึมครึม จังหวัดกาญจนบุรี เขา-เหล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช แร่ที่พบส่วนใหญ่เป็นแร่ฮีมาไทต์ และแมกนีไทต์ ปริมาณแร่บางแห่งพอที่จะทำเป็นอุตสาหกรรมถลุงเหล็กหรืออุตสาหกรรมผลิตเหล็กได้ แต่ยังขาดเงินลงทุน เพราะอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่าพวกแร่เหล็กเหล่านี้แท้จริงแล้วมีแหล่งที่มาและเกิดขึ้นได้อย่างไร เชิญชมครับ


   เนื่องจากไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่าแร่เหล็กแท้จริงแล้วเกิดขึ้นบนโลกตั้งแต่เมื่อไรและเกิดขึ้นอย่างไร  ฉะนั้น เนื้อหาในคลิปวีดีโอนี้จึงเป็นเพียงขอมูลสันนิฐานประกอบ อย่างไรก็ตาม ลองเก็บไปพิจารณากันดูนะครับ เพราะความสงสัยเป็นบ่อเกิดแห่งการค้นคว้าและเรียนรู้

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ช่างเทคนิคปิโตรเลียม


      แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติกลางทะเลอ่าวไทย โอบล้อมด้วยน้ำและฟ้าท้าคลื่นลม เพื่อทำหน้าที่ขุดเจาะเสาะหาและลำเลียงพลังงานจากใต้ทะเลสู่ผืนแผ่นดิน เครื่องจักรเครื่องยนต์กลไกอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง หมด ถูกขับเคลื่อนด้วย ช่างเทคนิคปิโตรเลียมฟันเฟืองมีชีวิต ผู้ประจำการและใช้ชีวิตประจำวัน เผชิญ หน้าท้าคลื่นลมกลางทะเล ตลอด 24 ชั่วโมง การควบคุมและขับเคลื่อนแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ เป็นความรู้เฉพาะด้านและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากสถานศึกษาที่มีหลักสูตรเฉพาะในการผลิต ช่างเทคนิคปิโตรเลียม” ซึ่งเริ่มเรียนวิชาพื้นฐานด้านช่างสาขาต่างๆ ปรับพื้น ฐานภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วิชาการปิโตรเลียมโดยเฉพาะ และที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจในการเผชิญสภาวการณ์ทำงานที่แตกต่างจากอาชีพอื่นโดยสิ้นเชิง วิชาเฮลิคอปเตอร์ เพราะการทำงานต้องเดินทางจากฝั่งสงขลา มุ่งหน้าทะเลอ่าวไทย ต้องใช้เฮลิ- คอปเตอร์เท่านั้น จึงต้องเรียนรู้ตั้งแต่การขึ้น-ลง การปฏิบัติตัวบนเครื่อง การลงจอดของเครื่อง ไปจนถึงการเอาชีวิตรอดจากเครื่องกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เมื่อเครื่องอาจะไม่สามารถบินข้ามน้ำทะเลไปถึงแท่นได้ วิชาสะเทินน้ำ เมื่อต้องทำงานอยู่บนแท่นที่มีเพียงน้ำกับฟ้า โอกาสที่จะได้เผชิญหน้ากับนาทีชีวิตในน้ำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ตั้งแต่เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกหรือลงฉุกเฉินกลางทะเล เรือล่ม หรือการสละแท่นเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย เพราะฉะนั้นช่างเทคนิคปิโตรเลียม จะเรียนรู้และเข้าใจเพียงศาสตร์แห่งเครื่องยนต์กลไกของเครื่องจักรไม่ได้ เพราะไม่เพียงพอสำหรับการรักษาชีวิตไว้ก่อนการทำหน้าปกป้องดูแลแท่น วิชาสะเทินไฟ ไม่ใช่ทำงานอยู่กับน้ำเท่านั้น แต่ยังต้องพร้อมเผชิญหน้ากับไฟ ในเมื่อทำงานอยู่กับพลังงานเชื้อเพลิง 

นักเรียนช่างเทคนิคปิโตรเลียม จึงต้องเรียนรู้ ฝึกฝน และทดสอบความพร้อมในการเผชิญ หน้ากับไฟอย่างสม่ำเสมอ ตามติดชีวิตขุดเจาะของนักล่าพลังงาน เรียนรู้เส้นทางอาชีพในฝัน กว่าจะเป็น ช่างเทคนิค ปิโตร-เลียมกลางทะเลได้นั้น ต้องเรียนรู้และฝ่าฟันอุปสรรคอะไรบ้าง การเผชิญหน้า ฝ่าด่านน้ำไฟ เพื่อรักษาชีวิตไว้ เพื่อพิชิตแหล่งพลังงานใต้พื้นพิภพนั้น จะต้องทำอย่างไร มาดูกันเลย !!!



ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ตอนที่ 4



ขอขอบคุณ technologypetroleum.blogspot.com