- รอยแตก
(Crack)
คำอธิบาย : รอยแตกทุกชนิด
เกณฑ์การยอมรับได้ : ไม่อนุญาตให้มี
- รูพรุน
(Porosity)
2.1
รอยเชื่อมรับภาระสถิตที่ไม่ใช่รอยต่อท่อ
คำอธิบาย : ก. รอยเชื่อมต่อชน
(Butt Joint) บากร่อง(Groove) หลอมลึกสมบูรณ์
(Full Penetration) ที่รับหน่วยแรงดึง
เกณฑ์การยอมรับได้ : ไม่อนุญาตให้มี
ข. รอยเชื่อมต่อชนแบบบากร่องแบบอื่น
(นอกเหนือจากข้อ ก) และรอยเชื่อมมุม
(Fillet)
เกณฑ์การยอมรับได้ : ผลรวมของรูพรุนที่ตามองเห็นได้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่มากกว่า 1 มม. (1/32 นิ้ว)
(1) 10 มม. (3/8 นิ้ว)
ต่อทุกความยาวรอยเชื่อม 25 มม. (1 นิ้ว) และ
(2) 20 มม. (3/4 นิ้ว)
ต่อทุกความยาวรอยเชื่อม 300 มม. (12 นิ้ว)
2.2. รอยเชื่อมรับภาระพลวัตที่ไม่ใช่รอยต่อท่อ และกรณีรอยเชื่อมท่อ
คำอธิบาย : ก. รอยเชื่อมต่อชนบากร่องหลอมลึกสมบูรณ์ที่รับหน่วยแรงดึง
เกณฑ์การยอมรับได้ : ไม่อนุญาตให้มี
ข. รอยเชื่อมต่อชนบากร่องแบบอื่น
(นอกเหนือจาก ก.)
เกณฑ์การยอมรับได้ : จำนวนรูพรุนต้องไม่เกิน 1 ตำแหน่งต่อทุกความยาวรอยเชื่อม
100 มม. (4 นิ้ว) และขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางรูพรุนต้องไม่เกิน
2.5 มม. (3/32 นิ้ว)
ค. รอยเชื่อมมุม (Fillet)
ค.1. รอยเชื่อมมุมทุกกรณี
เกณฑ์การยอมรับได้ : จำนวนรูพรุนต้องไม่เกิน 1 ตำแหน่งต่อทุกความยาวรอยเชื่อม
100 มม. (4 นิ้ว) และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนต้องไม่เกิน 2.5 มม. (3/32 นิ้ว)
ค.2 รอยเชื่อมมุมระหว่างสติฟเฟนเนอร์
(Stiffener) กับเอวของคาน (Web)
เกณฑ์การยอมรับได้ : ผลรวมของเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนต้องไม่เกิน
(1) 10 มม. (3/8 นิ้ว) ต่อทุกความยาวรอยเชื่อม
25 มม. (1 นิ้ว) และ
(2) 20 มม. (3/4 นิ้ว) ต่อทุกความยาวรอยเชื่อม
300 มม. (12 นิ้ว)
3. หน้าตัดจุดหยุดเชื่อม (Crater Cross Section)
คำอธิบาย : ทุกหน้าตัดของจุดหยุดเชื่อมจะต้องเติมแนวเชื่อมให้เต็มตามขนาดของรอยเชื่อมที่ระบุยกเว้นรอยเชื่อมมุมแบบเว้นระยะที่เชื่อมได้ความยาวแล้ว
(Intermittent Fillet Weld)
เกณฑ์การยอมรับได้ : ตามคำอธิบายรายละเอียด
- รอยกัดแหว่ง (Undercut)
คำอธิบาย :
4.1. รอยเชื่อมรับภาระสถิตที่ไม่ใช่รอยต่อท่อ
ก. ความหนาโลหะงานน้อยกว่า 25 มม. (1 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้ : (1) ความลึกของรอยกัดแหว่งไม่เกิน
1 มม. (1/32 นิ้ว) หรือ
(2) ความลึกรอยกัดแหว่งไม่เกิน
2 มม. (1/16 นิ้ว) และความยาวรอยเชื่อมที่มีรอยกัดแหว่งลึกรวมกันไม่เกิน 50 มม. (2 นิ้ว) ต่อความยาวรอยเชื่อม
300 มม. (12 นิ้ว)
ข. ความหนาโลหะงานมากกว่าหรือเท่ากับ
25 มม. (1 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
: ความลึกของรอยกัดแหว่งไม่เกิน 2 มม. (1/16 นิ้ว)
ตลอดแนวเชื่อม
คำอธิบาย :
4.2. รอยเชื่อมรับภาระพลวัตที่ไม่ใช่รอยต่อท่อ และกรณีรอยเชื่อมท่อ
ก. กรณีโครงสร้างหลัก (Primary Members) ที่มีรอยเชื่อมรับหน่วยแรงดึง
เกณฑ์การยอมรับได้ : ความลึกของรอยกัดแหว่งไม่เกิน 0.25 มม. (0.01 นิ้ว)
ข. กรณีอื่นๆ นอกเหนือจาก ก.
เกณฑ์การยอมรับได้ : ความลึกของรอยกัดแหว่งไม่เกิน
1 มม. (1/32 นิ้ว)
- รอยเชื่อมไม่ได้ขนาด
(Undersized
Weld)
คำอธิบาย : 5.1. รอยเชื่อมทุกกรณี
เกณฑ์การยอมรับได้
: รอยเชื่อมที่ไม่ได้ขนาดรวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของความยาวรอยเชื่อมทั้งหมด
5.2 รอยเชื่อมมุม (Fillet
Weld) ระหว่างเอว (Web) กับปีก
(Flange) ของคานประกอบ
เกณฑ์การยอมรับได้
: ไม่อนุญาตให้มีรอยเชื่อมไม่ได้ขนาดบริเวณรอยเชื่อมที่ปลายเป็นระยะสองเท่าของความกว้างปีก
5.3 รอยเชื่อมมุม
(Fillet Weld) แบ่งตามขนาดรอยเชื่อมระบุ (Specified Nominal
Size: L)
ก. L ≤ 5 มม. (3/16 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ขนาดรอยเชื่อมเล็กกว่าขนาดรอยเชื่อมระบุไม่เกิน 2 มม. (1/16 นิ้ว)
ข. L = 6 มม. (1/4 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ขนาดรอยเชื่อมเล็กกว่าขนาดรอยเชื่อมระบุไม่เกิน 2.5 มม. (3/32 นิ้ว)
ค. L ≥ 8 มม. (5/16 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ขนาดรอยเชื่อมเล็กกว่าขนาดรอยเชื่อมระบุไม่เกิน 3 มม. (1/8 นิ้ว)
- รอยนูน (Convexity)
คำอธิบาย : สำหรับรอยเชื่อมมุม (Fillet Weld) แบ่งตามความกว้างของขารอยเชื่อม
(Width of Weld Face: W)
ก. W ≤ 8 มม.
(W ≤5/16 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
: ระยะนูนไม่เกิน 2 มม. (1/16 นิ้ว)
ข. 8 < W < 25 มม. (5/16
< W < 1 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ระยะนูนไม่เกิน 3 มม. (1/8 นิ้ว)
ค. W ≥ 25 มม. (W ≥ 1 นิ้ว)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ระยะนูนไม่เกิน 5 มม. (3/16 นิ้ว)
- รอยเกย (Overlap)
คำอธิบาย : สำหรับรอยเชื่อมมุมและรอยเชื่อมชนแบบบากร่อง
เกณฑ์การยอมรับได้ : ไม่อนุญาตให้มี
- หลอมละลายไม่สมบูรณ์
(Incomplete
Fusion)
คำอธิบาย : สำหรับรอยเชื่อมมุม
เกณฑ์การยอมรับได้
: ไม่อนุญาตให้มี
- โลหะเชื่อมส่วนเกิน
(Reinforcement)
คำอธิบาย
: โลหะเชื่อมส่วนเกินทั้งกรณีโลหะงานความหนาเท่ากันและโลหะงานความหนาต่างกัน
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ความสูงของโลหะเชื่อมส่วนเกินไม่เกิน 3 มม.
(1/8 นิ้ว)
- รอยเชื่อมไม่เต็ม
(Underfill)
คำอธิบาย
:
รอยเชื่อมไม่เต็มสำหรับการเชื่อมต่อชนแบบบากร่อง
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ไม่อนุญาตให้มี
- ความเรียบของผิวรอยเชื่อม
(Flush
Surface)
คำอธิบาย
:
สำหรับรอยเชื่อมแบบต่อชนบากร่อง การขัดผิวรอยเชื่อมให้เรียบเสมอโลหะงานต้องมีเงื่อนไขดังนี้
ก. ความหนารอยเชื่อมภายหลังการขัดผิวและความหนาของโลหะงานภายหลังการขัดผิว
เกณฑ์การยอมรับได้ : มีค่าน้อยกว่าความหนาของโลหะงานที่บางกว่าไม่เกินร้อยละ 5 และไม่เกิน 1 มม. (1/32 นิ้ว)
ข. ความสูงของโลหะเชื่อมส่วนเกิน (Reinforcement)
เกณฑ์การยอมรับได้
:
ไม่เกิน 1 มม. (1/32 นิ้ว)
ยกเว้นกรณีเป็นหน้าสัมผัสหรือรอยต่อต้องทำผิวรอยเชื่อมให้เรียบเสมอกับผิวโลหะงาน
- การแต่งผิวรอยเชื่อม (Surface Finishing)
คำอธิบาย
:
ในกรณีที่กำหนดให้ต้องแต่งผิวรอยเชื่อม สามารถดำเนินการด้วยการสกัดผิวหรือการเซาะร่อง
และตามด้วยการขัดผิว (Grinding) ทั้งนี้ต้องมีความหยาบของผิวไม่เกิน
6.3 ไมครอน (0.0063 มิลลิเมตร หรือ
125 มิลลินิ้ว) และต้องขัดผิวในทิศทางที่กำหนดดังนี้
ก. ขัดผิวในทิศทางขนานกับหน่วยแรงหลัก (Primary Stress)
เกณฑ์การยอมรับได้
: ความหยาบอยู่ในช่วง
3.2 ถึง 6.3ไมครอน (0.0032 ถึง 0.0063 มม.หรือ 125
ถึง 250 มิลลินิ้ว)
ข. ขัดผิวในทิศทางใดก็ได้
เกณฑ์การยอมรับได้
: ความหยาบน้อยกว่า 3.2 ไมครอน (0.0032 มม. หรือ
125 มิลลินิ้ว)
ที่มา : AWS D1.1/D1.1M
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น