วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์สำหรับใช้เปิด-ปิดวาล์ว

วาล์ว สามารถเปิดปิดได้โดย
1.     ใช้มือ (Manual)
2.     ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (Motorized-Electrical)
3.     ใช้ไฮดรอลิก (Hydraulic)
4.     ใช้นิวมาติก (pneumatic)
5.     ใช้โซลินอยด์ (Solenoid-Electrical)
1.     ใช้มือ (Manual หรือ Mechanical)
1.1             เป็นแบบพวงมาลัย
1.2             เป็นแบบพวงมาลับชนิดตอกได้
1.3             ด้ามต่อ (lazy rod) โดยปกติห้ามใช้ ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตแนะนำ
รัศมีของพวงมาลัยนั้น ยิ่งใหญ่ยิ่งออกแรง เปิด-ปิด วาล์ว น้อย แต่การต่อด้ามจนยาวเกินไปอาจทำให้มีผลเสียต่อชิ้นส่วนภายในวาล์วได้, ก้านวาล์วอาจกลึงโดยใช้เกลียวเดี่ยวหรือเกลียวคู่ (single or double thread) ซึ่งแบบ double จะเปิด-ปิดได้เร็วกว่า single แต่ต้องให้รัศมี hand wheel โตกว่า
2.     ใช้มอเตอร์ (Motorized actuator)
พบเห็นมากที่สุดตามโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ โดยเฉพาะวาล์วตัวใหญ่ๆ เนื่องจาก motor มีรอบสูงจึงจำเป็นต้องทดรอบลงมาโดยใช้เกียร์ทดรอบ และเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการปิดแรงมีรอบสูงจึงจำเป็นต้องทดรอบลงมาโดยใช้เกียร์ทดรอบ และเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการปิดแรงหรือมากเกินไป จึงใช้อุปกรณ์ควบคุมแรงบิด (torque limiter) หรือ (shear pin) มากันความเสียหาย อันได้แก่หน้าวาล์วพัง
3.     ใช้ไฮดรอลิก (Hydraulic actuator)
คล้ายๆ กับกระบอกสูบลม (Pneumatic actuator) แต่แทนที่จะใช้ลม, ใช้น้ำมันแทน นอกจากนั้นยังต้องประกอบด้วย spring ซึ่งจะเป็นตัวยันกลับ
-         ใช้น้ำมันเปิด วาล์ว ใช้ spring ปิดวาล์ว
4.     ใช้นิวมาติก (Pneumatic actuator) มี 2 ชนิด
4.1 ชนิดแผ่น (diaphragm) ทำงานโดยใช้ความดันลมอัดมาที่แผ่น diaphragm เนื่องจาก diaphragm มีพื้นที่มากจึงต้องการความดันลมต่ำๆ ก็ทำงานได้ แต่การเคลื่อนที่ของ diaphragm นั้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (มากจะฉีก)
4.2 ชนิดลูกสูบ (piston) ทำงานโดยใช้ความดันลมสูง เพราะพื้นที่หน้าตัดน้อยแต่การเคลื่อนที่ยาวๆ ทำได้ จะเห็นตามวาล์ว ผีเสื้อ (butterfly valve) หรือ ball valve
สำหรับชนิด diaphragm นั้นอาจใช้ spring ช่วยเพื่อให้ทำงานรวดเร็วขึ้น โดยสามารถออกแบบให้มีลักษณะการทำงานต่างๆ กันดังนี้
ใช้ spring เปิด ใช้ลมปิด valve
ใช้ spring ปิด ใช้ลมเปิด valve
ใช้ลมเปิด ใช้ลมปิด valve
5.     ใช้โซลินอยด์ (Solinoid actuator)
โซลนอยด์ (solenoid actuator) คือ การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (magnetic field) ไปยกตัววาล์วได้
การใช้งานนั้นได้เฉพาะของไหลที่มีความดันและอุณหภูมิต่ำ, ทำงานได้เป็นช่วงสั้นๆ เพราะถ้านานจะไหม้ เนื่องจากความร้อนในขดลวด ดังนั้น จึงใช้กับวาล์วขนาดเล็กๆ (ประมาณ 1/16 นิ้ว 1 นิ้ว) เพื่อเปิด-ปิด น้ำ, น้ำมัน, หรือ ก๊าซ
การทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
-         โดยปกติ เปิด (เวลามีไฟป้อนเข้า เปิด)
-         โดยปกติ ปิด (เวลามีไฟป้อนเข้า ปิด)
จะพบเห็นในงานที่เป็นวาล์วตัดตอนหรือควบคุมระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในระบบระบายขี้เถ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น