วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการประชุม

   
  บทความนี้เป็นบทความที่กล่าวถึงเรื่องราวของเทคนิคการประชุม ซึ่งการประชุมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนวัยทำงานทุกๆ ท่าน  และในที่ประชุมมักจะมีปัญหาการโต้แย้งกันบ่อยครั้งทั้งเรื่องปัญหาต่างๆ นาๆ จนทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย  แต่อย่างไรก็ตามการทำงานเป็นทีมจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประชุม ดังนั้น ลองมาพิจาณากันดูซิว่าจะทำอย่างไรถึงจะทำให้การประชุมนั้นมีความสนุกแทนความตึงเครียด
ความหมายการประชุมคืออะไร ?
     การประชุมคือการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมกันคิด เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาและสถานที่ซึ่งกำหนดไว้
การประชุมสำคัญอย่างไร ?
      การประชุมเป็นเครื่องมือในการบริหารและการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจและทำงานร่วมกันได้โดยมีเป้าหมายที่เข้าใจตรงกัน
ลักษณะของการประชุมมีอะไรบ้าง ?
      1 ลักษณะประชุมเพื่อร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหา
      2 ลักษณะประชุมเพื่อรวบรวมความคิดและประสบการณ์ในการปรับปรุงงาน
ประเภทของการการประชุมมีอะไรบ้าง ?
      1 การประชุมเพื่อข่าวสาร
      2 การประชุมเพื่อการอบรม
      3 การประชุมเพื่อแก้ปัญหา
      4 การประชุมเพื่อระดมความคิด
ประโยชน์ของการประชุมมีอะไรบ้าง ?
      1 เป็นเครื่องช่วยให้มีการทำงานทางความคิดร่วมกัน เพราะการประชุมเป็นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
2 ช่วยให้เกิดความรับผิดชอบผูกพันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและแบ่งเบาภาระรับผิดชอบได้ดี
3 ช่วยให้มีความรอบคอบในการตัดสินใจ
4 ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุม
5 ช่วยในการกระจายข่าวสารเรื่องราวต่างๆ และถ่ายทอดไปถึงผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
6 ช่วยในการประสานงาน ประสานความคิดและความเข้าใจ เมื่อได้มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกันโดยตรงและซึ่งๆ หน้า
7 ช่วยให้มีการหยั่งความคิดเห็นใหม่ๆ ในวิธีต่างๆ และมีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ ของบุคคลหลายคน สามารถนำมาวิเคราะห์และพิจารณา
8 ช่วยให้ไม่ด่วนผลีผลามตัดสินใจรวดเร็วโดยลำพังคนเดียว จนอาจเกิดพลาดพลั้งได้ง่าย
9 ช่วยให้เกิดความรู้สึกว่าแต่ละคนแต่ละคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของงาน เจ้าของความคิดซึ่งมีมติตามเสียงส่วนใหญ่
10 ช่วยให้สามารถติดตามความคิดคืบหน้าของงาน และชำระสะสางกิจกรรมหรือภารกิจที่มีการมอบหมายไปดำเนินการ
แผ่นผังแสดงขั้นตอนของขบวนการประชุม

                  สิ่งที่จะต้องเตรียมก่อนการประชุม
1 สถานที่(ห้องประชุมหรือบริเวณที่เหมาะสม)
2 วันและเวลา
3 อุปกรณ์
4 วาระการประชุม
5 รายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

ปัญหาและวิธีการแก้ไขในระหว่างการประชุม
     สมมุติว่าสมาชิกบางคนในกลุ่มที่กำลังร่วมประชุมกันอยู่มีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจเป็นต้นเหตุให้การประชุมขาดประสิทธิภาพ และถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ประธานจะต้องรีบหาทางแก้ไขอย่างไรถึงจะเหมาะสมที่สุด
จงพิจารณาพฤติกรรม 11 ประเภท ดังต่อไปนี้ ที่ทำให้การประชุมขาดประสิทธิภาพ
ประเภทที่ 1 พวกระมัดระวังและป้องกันตัวเอง

วิธีแก้ไข : อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของผลประโยชน์ส่วนรวมและวัตถุประสงค์ของการประชุม

ประเภทที่ 2 พวกเกะกะรุกราน
วิธีการแก้ไข : ถามปัญหายากๆ
                   : ให้แสดงความคิดเห็น
                  : หาโอกาสให้ปล่อย ไก่หรือเสียหน้า
                  : .ใช้การประนีประนอมเพื่อระงับอารมณ์เสีย เพื่อแก้ปัญหา

ประเภทที่ 3 พวกทำเป็นไม่สนใจแต่แอบฟัง(ทำตัวเหมือนผู้สังเกตการณ์)

วิธีการแก้ไข : กระตุ้นให้ช่วยพูดแสดงความคิดเห็น
                   : เรียกถามคำถามหรือให้แสดงความคิดเห็น
ประเภทที่ 4 พวกชอบเด่น พวกชอบทำให้เรื่องยาว

                      วิธีการแก้ไข : จำกัดเวลาในการแสดงความคิดเห็น
                : เน้นให้เห็นว่าเวลาในที่ประชุมมีจำกัด ขอให้พูดตรงประเด็นเลย
                      
ประเภทที่ 5 พวกเบื่อหน่ายการประชุม หรือ พวก หลับยัน

วิธีการแก้ไข : ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและทบทวนวัตถุประสงค์ของการประชุม
                  : เรียกถามหรือให้แสดงความคิดเห็นบ่ายๆ
                  : พูดพาดพิงถึงเขาบ่อยๆ
ประเภทที่ 6 พวกเจ้าตำราหัวหมอ ซึ่งจะผูกขาดการพูดอยู่ตลอดเวลา หรือ พวกบ้าน้ำลาย
วิธีการแก้ไข : หาจังหวะตัดบท
                 : แกล้งไม่เห็นเวลายกมือขอพูด
                 : เจาะจงให้คนอื่นพูด
                 : ถามข้ามหัว
                 : ให้ที่ประชุมวิจารณ์ความเห็นของเขา


วิธีการแก้ไข : เมื่อมีประเด็นใหม่ให้แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
                :  ให้ผลัดกันออกความคิดเห็น
ประเภทที่ 8 พวกนิ่งเสียตำลึงทอง

วิธีการแก้ไข : ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
                 : เรียกระบุตัวเพื่อขอให้แสดงความคิดเห็น
ประเภทที่ 9 พวกตลบหลัง หรือ แซวสำราญ
วิธีการแก้ไข : ใช้เมื่อสถานการณ์ตึงเครียด
                   : ขอความรวมมือให้พูดในประเด็นสำคัญของการประชุม
ประเภทที่ 10พวกไม่รู้เรื่องอะไรเลย หรือ พวกนางอาย

วิธีการแก้ไข : พยายามถามเรื่องง่ายๆ ให้เขาตอบได้
                : ช่วยตอบนำบ้างเล็กน้อย
                : ยกย่องความคิดของเขา
ประเภทที่ 11 พวกสงวนท่าที หรือ พวกอมภูมิ
วิธีการแก้ไข : กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการช่วยการออกความคิดเห็น
                 : เชิญหรือให้เกียรติแสดงความคิดเห็น
                 : ยกย่องความคิดของเขา
     จะเห็นว่า  พฤติกรรมทั้ง 11 ประเภท ไม่ควรมีอยู่ในที่ประชุม เพราะยิ่งมีคนเหล่านั้นมากเพียงไร ก็ยิ่งจะทำให้การประชุมนั้นมีโอกาสประสบความล้มเหลวหรือมีประสิทธิภาพต่ำเท่านั้น
      นอกจากพฤติกรรมทั้ง 11 ประเภทแล้ว ยังมีสถานการณ์บางงอย่างที่เป็นปัญหาในการประชุมซึ่งจำเป็นจะต้องหาวิธีแก้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สถานการณ์ที่ 1 : ผู้เข้าร่วมประชุมแยกกันพูดเป็นกลุ่มย่อยๆ
วิธีแก้ไข : ให้เวลาพอสมควร แล้วหาจังหวะเรียกความสนใจ หรือดึงให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพระเอกก่อน แล้วให้กลุ่มอื่นช่วยกันรับฟัง จากนั้นอภิปรายต่อๆ กันไป
สถานการณ์ที่ 2 : พูดนอกประเด็นหรือนอกวาระ
วิธีการแก้ไข : ทบทวนประเด็นและวาระใหม่อย่างสุภาพ
                    : โยนคำถามเพื่อที่จะพูดในประเด็นต่อไป
สถานการณ์ที่ 3 : เงียบไม่มีใครแสดงความคิดเห็น
วิธีการแก้ไข : กระตุ้นหรือกล่าวนำ
                 : ถามเป็นรายบุคคล
สถานการณ์ที่ 4 : ถามยัน
วิธีการแก้ไข : ทบทวนคำถามของเขาในที่ประชุม แล้วโยนให้เจ้าตัวตอบเอง
สถานการณ์ที่ 5 : หัวรั้น
วิธีการแก้ไข : ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคนส่วนใหญ่ หากจำเป็นอาจใช้วิธีลงคะแนนเพื่อหาข้อสรุปจากคนส่วนใหญ่
         ทางคณะผู้จัดทำหวังว่าบทความนี้จะเป็นโยชน์และแนวทางสำหรับพนักงานทุกๆ ท่าน และรวมไปถึง บุคคลระดับหัวหน้างานในทุกๆ องค์กร โดยสิ่งที่เขียนขึ้นนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับที่ประชุมบ่อยครั้ง จนทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมบกพร่องไป ส่งผลทำให้เนื้องานไม่ตรงตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควร และประสบปัญหาตามมามากมาย
ด้วยความปรารถนาดีจะคณะผู้จัดทำ  ทีมงาน หล่อขั้นเทพ
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น