วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการเก็บข้อมูลความเสียหายเบื้องต้น


    ผู้วิเคราะห์หรือผู้ที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นควรมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกบันทึกภาพของชิ้นส่วนที่เสียหาย และสภาพบริเวณข้างเคียง เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลหรือรายงานสภาพความเสียหายตลอดจนใช้ในการประกอบการพิจารณาความเสียหายด้วย เพราะชิ้นส่วนที่นำมาทำการวิเคราะห์มักจะถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป นอกจากนี้รูปภาพยังเป็นตัวอธิบายลักษณะของความเสียหายได้ดีที่สุดด้วย 

1. หลักการบันทึกภาพเพื่อประกอบการวิเคราะห์มีข้อแนะนำดังนี้
-          ควรบันทึกภาพชิ้นส่วนที่เสียหายและชิ้นส่วนใกล้เคียงโดยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนหรือซ่อม
-          บันทึกภาพเฉพาะจุดที่เสียหายโดยให้สามารถแสดงรายละเอียดของลักษณะความเสียหายให้มากที่สุด
-          ปรับแสงให้ถูกต้องเพื่อให้บันทึกภาพตรงตามความเป็นจริง สีที่ได้ไม่ผิดเพี้ยนจากของจริง
-          อาจจะต้องถ่ายภาพบริเวณที่เสียหายหลายๆ ด้านเพื่อให้ได้รายละเอียดที่สมบูรณ์
-          ผู้บันทึกภาพจะต้องแน่ใจว่าภาพที่ได้ไม่เสียหรือถ่ายไม่ติด
-          การถ่ายภาพขยายจะให้ประโยชน์แก่ผู้วิเคราะห์ได้มากเพราะจะสามารถเห็นรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
-    ทุกครั้งที่บันทึกภาพชิ้นส่วนที่เสียหายควรมีสิ่งที่สามารถอ้างอิงได้ถึงขนาดของชิ้นงาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร ปากกา ฯลฯ แม้กระทั่ง นิ้วมือก็สามารถนำมาใช้ได้ กรณีชิ้นงานมีขนาดใหญ่มากๆ ก็สามารถเอาคนไปยืนเพื่อเปรียบเทียบขนาดได้เช่นเดียวกัน
-           
2.     การเก็บข้อมูลประวัติการใช้งาน
ประวัติการใช้งานที่สมบูรณ์และละเอียดย่อมเป็นตัวนำไปสู้การวิเคราะห์ที่ถูกต้องและตรงเป้าหมายมากที่สุด ดังนั้น ผู้ที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยงกับการใช้งานจริงจำเป็นต้องทำอย่างละเอียดและเอาใจใส่เป็นพิเศษ มีหลายครั้งที่ผู้วิเคราะห์ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานทำให้ผู้วิเคราะห์ต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถพิเศษเข้าช่วย โดยมากมักจะใช้การตัดสินใจและ ในบางครั้งการได้รับข้อมูลผิดๆ ก็ยังเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับผู้วิเคราะห์เป็นอันมาก ทั้งนี้เพราะผลที่ได้จากการตรวจเช็คทาง Lab ไปขัดแย้งกับข้อมูลที่ได้มาผิดๆ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายมากในงานวิเคราะห์ความเสียหาย
 ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้งานของชิ้นส่วนและอุปกรณ์แต่ละตัวจะไม่เหมือนกันซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้บันทึกข้อมูลด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้อย่างกว้างๆ ได้ดังนี้

-   หลักการทำงานและหน้าที่ จุดเริ่มต้นที่ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบก็คือ หลักการทำงาน, หน้าที่ของชิ้นส่วนที่จะทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น wall tube เป็นส่วนประกอบของ boiler ซึ่งบริเวณที่น้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นไอน้ำ, nozzle สำหรับฉีดน้ำมันให้เป็นละออง เพื่อให้เผาไหม้ภายไหม้ภายในห้องเผาไหม้ เป็นต้น
-      สภาพแวดล้อมขณะใช้งาน เป็นตัวที่จะบอกให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่าชิ้นส่วนนั้นอยู่ในสภาพเช่นใด ต้องอยู่ในสภาพกรด หรือ ด่าง มีส่วนที่จะทำให้เกิด Corrosion, Erosion ได้หรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น
-    อุณหภูมิในการทำงาน จะเป็นตัวบอกให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นในลักษณะอุณหภูมิต่ำหรือสูง และในระหว่าง Operate อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเท่าไร นอกจากอุณหภูมิใช้งานยังเป็นตัวบอกถึงการ Design ด้วยว่าเลือกใช้วัสดุถูกต้องหรือไม่
-   ลักษณะของแรงที่กระทำ เช่น รับแรง torsion, tension, bending หรือ หลายลักษณะรวมกัน และเป็นแรงขนาดปกติ หรือสูงกว่าปกติ (overload) หรือมีการเปลี่ยนแปลง load อยู่ตลอดเวลา cyclic load เป็นต้น
-       วัสดุที่ใช้ เป็นตัวบอกให้เราทราบว่า material ที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่กับสภาพการใช้งานที่เป็นอยู่ ในบางครั้งวัสดุที่ใช้อยู่เดิมอาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีที่ดีกว่าก็ได้
-        อายุการใช้งาน เป็นตัวบอกได้ว่าชิ้นส่วนนี้เสียหายเพราะใช้งานมานานแล้วหรือไม่และในกรณีที่อายุการใช้งานสั้นเกินไปก็อาจจะมีการพิจารณาหาทางแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น
-       ลักษณะของการ operate ถ้าผู้วิเคราะห์สามารถทราบถึงการ operate ว่ามีการใช้งานในลักษณะใด เช่น เดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง, วันละ 8 ชั่วโมง หรือ จ่าย load 70% ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถทราบไว้ว่าเครื่องจักรทำงานในสภาพปกติหรือหนักเกินไป ตลอดจนสามารถทำนายได้ว่าชิ้นส่วนนั้นต้องรับ load ในลักษณะ cyclic load ด้วยความถี่เท่าใด บางครั้งชิ้นส่วนที่เสียหายไม่เหมาะที่จะรับ load ที่เปลี่ยนแปลงบ่อย แต่การหยุดเครื่องบ่อยก็เป็นการเปลี่ยนแปลง load เช่นกัน ดังนั้น ลักษณะของการ operate จึงให้ประโยชน์แก่ผู้วิเคราะห์ได้มาก

     นอกจากที่กล่าวมาแล้วอาจจะมีข้อมูลอื่นๆ อีกก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพของชิ้นงานด้วย มีบ่อยครั้งที่ผู้วิเคราะห์ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานไปแล้ว แต่เมื่อทำการทดสอบไปแล้วต้องกลับมาหาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานเพิ่มเติมอีกทั้งนี้เพราะผู้วิเคราะห์ยังไม่สามารถตัดสินใจร่วมกับข้อมูลเดิมได้จึงต้องหาข้อมูลไปประกอบกาพิจารณาอีกด้วย

3.     การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนเสียหาย
    ข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำมาประกอบการพิจารณาความเสียหายจะต้องสอดคล้องกับชิ้นงานที่จะทำการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพราะข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงจะสามารถให้ประโยชน์ต่อการวิเคราะห์มาก และยังเป็นตัวชี้แนวทางของการวิเคราะห์ความเสียหายว่าควรจะทำการตรวจสอบอะไร, ทดสอบหาค่าอะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราจะรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโรงงาน, ขั้นตอนหรือวิธีการผลิตชิ้นส่วน และประวัติการใช้งานของชิ้นส่วนที่เสียหาย และอาจจะรวบรวมข้อมูลของชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เพราะชิ้นส่วนเหล่านั้นอาจจะเป็นตัวนำไปสู่ความเสียหายก็ได้
    การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานหรือการผลิตชิ้นส่วนขึ้นมานั้นสามารถที่จะเริ่มค้นหาจาก Specification ของชิ้นส่วน, Drawing และขอมูลจากการ Design ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโรงงาน และการผลิตนั้นอาจจะแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
3.1 ขบวนการทางกล ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนการใดขบวนการหนึ่ง หรือ หลายขบวนการรวมกันก็ได้ เช่น Cold forming, Stretching, Bending, Machining, Polishing และ Grinding
3.2 ขบวนการทางความร้อน ประกอบด้วยรายละเอียดประเภท Hot forming, heat treating, Welding, Brazing หรือ Soldering
3.3 ขบวนการทางเคมี ประกอบด้วยรายละเอียดประเภท Cleaning, Electroplating และ การ Coating โดย Chemical alloying หรือ Deffusion เป็นต้น



ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างการหาความผิดปกติของท่อ Boiler tube โดยการใช้แสงส่องตรวจหา
พร้อมระบุขนาดและตำแหน่งการบวมของท่อ



ภาพที่ 2 แสดงตำแหน่งการแตกของท่อ Boiler tube พร้อมระบุขนาดและตำแหน่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น