วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมซ่อม (welding repair) ตอนที่ 1

บทนำ
การเชื่อมซ่อมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
-         การเชื่อมปรับปรุง (ชิ้นงานผลิตใหม่ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการใช้งาน)
-    การเชื่อมซ่อม (ชิ้นงานที่ใช้งานแล้ว และชำรุดเสียหาย นำมาเชื่อมซ่อมให้ใกล้เคียงกับของเดิม)
      การเชื่อมปรับปรุง หมายถึง การขจัดข้อผิดพลาดจากการหล่อ การตี การรีด หรือการเชื่อมที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานใหม่ ดังนั้น จึงสามารถทำการผลิตชิ้นงานที่ตรงกับความต้องการของชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์นั้น สำหรับจุดมุ่งหมายในการนำไปใช้งานต่อไปได้โดยไม่มีข้อจำกัด
      สำหรับการเชื่อมซ่อมเป็นการขจัดรอยร้าว รอยแตกหักรอยสึกเสียหายหรือการเสียหายเนื่องจากการกัดกร่อนที่ชิ้นงาน ในช่วงระหว่างการใช้งานรวมทั้งยังสามารถขจัดปัญหาการสึกหรอของเนื้อวัสดุที่หายไประหว่างการใช้งานโดยการเชื่อมพอก ซึ่งสามารถสร้างสมรรถภาพการใช้งานขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้น การเชื่อมซ่อมจึงเป็นงานที่อยู่ในเขตของการซ่อมบำรุง
ยุทธวิธีการบำรุงรักษา
ยุทธวิธีการบำรุงรักษาที่ปฏิบัติกันในปัจจุบันที่สำคัญๆ คือ
-    การซ่อมบำรุงเมื่อเกิดการเสียหายหรือการขัดข้อง : ซ่อมเมื่อเกิดการขัดข้องหรือเสียหาย brake down maintenance)
-    การซ่อมบำรุงตามเวลา : เป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอก่อนมีผลเสียหายหรือขัดข้องตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ (preventive maintenance)
-    การซ่อมบำรุงรักษาตามสภาพ : เป็นการตรวจและทำการซ่อมบำรุงตามสภาพของแต่ละจุด
      ค่าที่ให้ผลดีที่สุดระหว่างการเศรษฐศาสตร์และความปลอดภัยก็คือการผสมผสานของระหว่างยุทธวิธีการซ่อมบำรุงทั้งสาม
      เกณฑ์สำหรับการเลือก ยุทธวิธีการซ่อมบำรุงต้องระมัดระวัง
-         กฎข้อบังคับ ระเบียบในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (preventive maintenance)
- เมื่อเป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่เน้นความสำคัญเรื่องความปลอดภัย

-         ผลของการที่อุปกรณ์ขัดข้องและอาจส่งผลกระทบต่อการผลิต
-         เป็นอุปกรณ์ประเภทคอขวดหรือประเภทที่ยังใช้สมรรถภาพไม่เต็มที่หรือไม่ ?
-         เป็นชิ้นส่วนที่สามารถกำหนดพฤติกรรมการขัดข้องเสียหายได้ล่วงหน้าหรือไม่ ?
-         เป็นระบบที่ซ้ำๆ กับ (redundant) หรือเปล่า ?

       เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเชื่อมปรับปรุงและการเชื่อมซ่อมด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าการเชื่อมปรับปรุง โดยทั่งไปกระทำได้ง่ายกว่าเพราะสามารถหาข้อมูลและมาตรการทางเทคโนโลยีที่จำเป็นได้จากแบบตารางชิ้นส่วน เอกสารของโรงงานและเอกสารการผลิตอื่นๆ สำหรับกำหนดการเชื่อมปรับปรุงได้ ซึ่งข้อเด่นข้อนี้ สำหรับการเชื่อมซ่อมแล้วไม่มี ส่วนใหญ่แล้วต้องหาข้อมูลที่จำเป็นของชิ้นส่วนที่เสียหายเสียก่อน
      ในทางปฏิบัติแล้วในระยะเวลาอันสั่นหลังจากเกิดการเสียหายจะมีการประเมินผลว่า
-         ชิ้นส่วนที่เสียหายสามารถทำการเชื่อมซ่อมได้หรือไม่ ?
สามารถทำการเชื่อมซ่อมในสภาพที่ประกอบกันอยู่ได้หรือไม่ หรือต้องทำการถอดประกอบชิ้นส่วนนั้นเสียก่อน
-         จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและใช้เวลาเท่าใดในการเชื่อมซ่อม
-         ชิ้นส่วนที่ถูกเชื่อมซ่อมจะมีความสามารถในการเชื่อมซ่อมเพียงใด
-         นอกจากการเชื่อมซ่อมแล้วยังมีวิธีการใดที่สามารถใช้ในการซ่อมบำรุงได้อีก (ที่ทำให้คุณภาพของชิ้นส่วนที่เสียหายเหมือนเดิมมากที่สุด) ที่ทำได้ง่ายกว่าเร็วกว่าและ/หรือ เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมน้อยกว่า
    จากภาพการณ์แล้ว การเชื่อมซ่อมให้ความเชื่อถือทางวิชาการที่จำเป็นโดยไม่มีการสูญเสียเวลาและการวิ่งตัวเปล่าเมื่อ
-         มีการเตรียมการที่จำเป็นและการทำงานตามแผนการอย่างสม่ำเสมอ
-         ความสัมพันธ์ทางวิชาการต่างๆ ที่ยุ่งเกี่ยวมีความกระจ่างและถูกต้องหรือมีการประเมิลขจัดความเสียหาย ตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง
-         การเตรียมการและปฏิบัติงานเป็นไปตามที่กำหนด
ลำดับขั้นตอนการเชื่อมซ่อม
การเชื่อมซ่อมมีลำดับขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้
1.     การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหาย หรือ เกิดการสึกหรอ
2.     ประเมิลและทำการคาดคะเนข้อมูล
3.     กำหนดกรรมวิธีการเชื่อมซ่อม
4.     วิธีการปฏิบัติการเชื่อมซ่อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น