วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมซ่อม (welding repair) ตอนจบ

         จากความเดิมตอนที่แล้ว เรื่องการเชื่อมซ่อม ก็ได้กล่าวมาแล้ว 1 หัวข้อนั้นก็คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหาย ตอนต่อจากนี้ไปจะขอกล่าวส่วนของเนื้อหาหัวข้อที่ 2-4 คือ การประเมิลและคาดคะเนข้อมูล, การกำหนดกรรมวิธีการเชื่อมซ่อม และ วิธีการปฏิบัติการเชื่อมซ่อม ตามลำดับ
ดังนี้
 หัวข้อที่ 2 ประเมิลและทำการคาดคะเนข้อมูล
      เมื่อได้ทำการจัดหารวบรวมข้อมูลมาแล้ว ขั้นตอนที่ 2 เป็นการคาดคะเนหรือประมาณการความสามารถในการใช้งาน โดยการใช้วิธีการคาดคะเน 3 แบบที่สามารถกระทำได้
การพิจารณาที่ 1
-         การเชื่อมซ่อมโดยไม่มีข้อจำกัดทางวิชาการ
การพิจารณาที่ 2
-         การเชื่อมซ่อมโดยมีข้อจำกัดทางวิชาการ
การพิจารณาที่ 3
-         ไม่มีการเชื่อมซ่อม



หัวข้อที่ 3 การกำหนดเทคโนโลยีการเชื่อม
      การกำหนดเทคโนโลยีการเชื่อมเป็นตัวนำไปสู่แผ่นการเชื่อมซ่อม ซึ่งจะบรรลุเทคนิคที่จำเป็นทั้งหมดและข้อปลีกย่อยต่างๆ ทางเทคโนโลยีสำหรัขั้นตอนการทำงานต่อไป
ข้อแนะนำสำหรับงานเชื่อมซ่อมที่มีความสำคัญและยุ่งยาก คือให้ การทำแผนการเชื่อมเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนการปฏิบัติการเชื่อม เนื่องจากมีสาเหตุดังนี้
-         ป้องกันการเข้าใจผิด และข้อผิดพลาดในการถ่ายทอดงาน
-         เป็นส่วนสำคัญของเอกสารหลักฐาน ของการแก้ไขกรณีเกิดความผิดพลาด
เป็นเอกสารหลักฐานยืนยันการทำงานเมื่อเกิดการทิ้งงานขึ้น
 หัวข้อที่ 4 การปฏิบัติการเชื่อมซ่อม
      ในการเชื่อมซ่อมต้องใช้ทั้งช่างเชื่อมและผู้ควบคุมดูแลการเชื่อม ช่างเชื่อมต้องทำการเชื่อมให้ตรงตามแผนการเชื่อมซ่อมที่กำหนดไว้ หากช่างเชื่อมต้องการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับดูแลการเชื่อมเสียก่อน
     ผู้กำกับดูแลการเชื่อมมีหน้าที่คอยกำกับดูแลให้ช่างเชื่อมผู้ปฏิบัติการ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการเชื่อมหรือตามมาตรการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการเชื่อม และต้องคอยดูแลให้ผู้ทำหน้าที่การเชื่อม มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (DIN EN 287-1 การสอบช่างเชื่อม ; การหลอมละลาย ภาค 1 : เหล็กต่าง ; ภาค 2 : อลูมิเนียมและอลูมิเนียมผสม)
การตรวจสอบสอบกรรมวิธีการทำการเชื่อม
      เมื่อมีการทำการเชื่อมซ่อมสำหรับบุคคลที่สาม และได้รับการเรียกร้องกรรมวิธีการเชื่อมที่เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้สั่งจ้าง จะต้องมีข้อพิสูจน์ยืนยันกรรมวิธีตาม DIN EN 288-ข้อเรียกร้องและการยอมรับของกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับวัสดุประเภทโละ
DIN EN 288 ภาค 1 : กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการเชื่อมหลอมละลาย
                  ภาค 2 : แนวทางการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟฟ้า
                  ภาค 3 : การตรวจสอบกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คของเหล็ก
                  ภาค 4 : การตรวจสอบกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟของ
                              อลูมิเนียมและอัลลอย
DIN EN 288 ภาค 3 ได้กำหนดว่าอย่างไร แนวทางการเชื่อมจึงจะได้รับการยอมรับตามการตรวจสอบกรรมวิธี ได้อธิบายเงื่อนไขการปฏิบัติการของการตรวจสอบการวิธีและขอบเขตของการใช้ได้ของกรรมวิธีการเชื่อมที่ได้รับการยอมรับ
การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (NDT)
    เพื่อให้ชิ้นส่วนที่ผ่านการเชื่อมซ่อม มีความสามารถในการใช้งานตามที่เรียกร้อง ต้องมีการตรวจสอบสอบและยืนยันจากการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (NDT) ในกรอบของการประกันคุณภาพ ซึ่งกรรมวิธี NDT นี้เป็นกรรมวิธีที่ใช้ในเทคนิคการเชื่อมทั่วๆ ไปเป็นเครื่องช่วยบอถึงความปลอดภัยของชิ้นส่วนที่ผ่านการเชื่อมซ่อมในเรื่องคุณภาพของการเชื่อมประสาน
โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ เช่น การนูนของแนวเชื่อม การเว้าต่ำของแนวเชื่อม การเกิดร่อยไหม้ แนวรากบกพร่อง และอื่นๆ ใช้การตรวจสอบด้วยสายตา ส่วนข้อบกพร่องที่ถูกปิดบังหรืออยู่ภายใน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ใช้การตรวจสอบด้วยการฉายรังสี หรือตรวจสอบคลื่นเสียงอุลตร้าโซนิก ซึ่งสามารถกำหนดตำแหน่งและขนาดได้ 
         ส่วนกรรมวิธีการตรวจสอบผิวแบบไม่ทำลายที่ใช้กันอยู่มี 2 วิธีคือ การใช้สารแทรกซึมและการใช้ผงแม่เหล็ก โดยกรรมวิธีการทั้งสองมีข้อแตกต่างในการใช้งานอยู่บ้าง ซึ่งแบบใช้ผงแม่เหล็ก กระทำได้เฉพาะวัสดุที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้เท่านั้น แต่เป็นกรรมวิธีการตรวจสอบที่สามารถเห็นข้อบกพร่องบริเวณใต้ผิวที่ไม่ลึกมากได้
        กรรมวิธีการตรวจสอบทั้งสองสามารถตรวจหารอยร้าว และข้อบกพร่องในการประสานตัวที่เกิดจากการเจียรนัยที่ผิวได้ด้วย
เทคนิคพิเศษในการเชื่อมพอกผิว
     การเชื่อมพอกบริเวณเกิดเป็นหลุมหรือแอ่ง
      ลำดับชั้นการเชื่อมและลำดับการเชื่อมในการเชื่อมเติมเนื้อแอ่งให้เต็มหลังการเจียรนัยส่วนที่เป็นรอยร้าวออกแล้ว ทำเหมือนการเชื่อมประสานทั่วไป มุมเปิดของแอ่งควรประมาณ 15 องศา มุมลาดช่วงสิ้นสุดแนวประมาณ 45 องศา รัศมีของมุมโค้งของแอ่งประมาณ 5 มม.
การเชื่อมพอกพื้นผิวกว้าง
    เมื่อต้องทำการเชื่อมพอกผิวขนาดกว้าง ขอแนะนำให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นตารางสีเหลี่ยมจัตุรัส โดยมีความยาวด้านของเขตที่แบ่งประมาณความยาวที่ได้จากการหลอมละลายของลวดเชื่อม เมื่อต้องการทำการเชื่อมพอกหลายชั้น ต้องเบี่ยงแนวเชื่อมที่พอกทับโดยจุดเริ่มต้นแนวและจุดสิ้นสุดแนวไม่ซ้อนกันในแนวระนาบเดียวกัน

              การเชื่อมพอกชิ้นส่วนทรงกระบอก
    ในการเชื่อมพอกที่ชิ้นส่วนทรงกระบอกขึ้นอยู่กับลำดับการเชื่อมว่ามีผลทำให้เกิดการแอ่นตัวในภายหลังหรือไม่ การเชื่อมพอกแบบเป็นเกลียวรอบชิ้นงานเพราะใช้การกระจายตัวของความเค้นได้

เอกสารอ้างอิง
DIN EN 287 T.1 การทดสอบช่างเชื่อมเหล็ก
DIN EN 287 T.2 การสอบช่างเชื่อมอะลูมิเนียม
DIN EN 288 T.1 กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการเชื่อมหลอมละลาย
DIN EN 288 T.2 ระเบียบแนวทางการเชื่อมอาร์คไฟฟ้า
DIN EN 288 T.3 การตรวจสอบสอบกรรมวิธีเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟฟ้าเหล็กต่างๆ

1 ความคิดเห็น: