วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

คติธรรม คำสอน



-          ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน เช่น อธิษฐาน ขอโน่นขอนี่ แต่ ทำบุญให้ได้บุญ คือ ทำแล้วสบายใจ เราทั้งหลายเจริญวัยชันษามาได้ เพราะพ่อแม่ชุบเลี้ยงเรามา เราได้รับ เรือน ๓ น้ำ ๔ ของพ่อแม่ มาทุกคน นั้นก็คือ
          เรือน ๓ คือ
๑.     เรือนครรภ์
๒.    เรือนตัก (ที่พ่อแม่อุ้มใส่ตัก)
๓.    เรือนที่อยู่อาศัย
น้ำ ๔ คือ
๑.     น้ำนม
๒.    น้ำคำ (ลูกจ๋าแม่ให้พร)
๓.    น้ำพักน้ำแรง (ที่พ่อแม่หาเลี้ยง)
๔.    น้ำใจ (ที่ไม่มีอะไรเทียบได้เลย)
-          กรรมฐาน ใช้หนีข้าวและน้ำนมแม่ดีที่สุด และกรรมฐาน เป็นบุญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ที่ฆ่าตัวตายจะได้รับ บุญอย่างอื่นส่งไม่ถึงฯ และการเจริญพระกรรมฐาน จะทำให้ชีวิตรุ่งเรืองวัฒนาสถาพร และจะรุ่งเรืองต่อไปถึงลูกหลาน
-          คนไร้บุญวาสนาไม่มีลูก ไม่ต้องไปบนบานขอใครเขา ต้องสร้างบุญบารมีสวดมนต์ทำกรรมฐานเดี๋ยวมีเอง จะได้นักปราชญ์ราชกวีมาเกิด บ้านไหนสะอาดนักปราชญ์มาเกิด ไม่มีบุญวาสนา ไปขอที่โน่นที่นี่ อาจได้จิตวิญญาณไม่ดีมาเกิด เถียงพ่อเถียงแม่
-          จะยากดีมีจนประการใดท่านเจริญกรรมฐานไว้ จะสามารถกลายเพศเป็นเศรษฐีได้สร้างความดีในสังคมได้ พ่อก็จนแม่ก็จนลูกเป็นนายพลก็เยอะ พ่อแม่เป็นอาเสี่ย ลูกเป็นอาเฮียก็เยอะ มีมากในสังคมนี้ เพราะฉะนั้น ความดีสร้างให้กันไม่ได้ เราต้องสร้างเองต่างคนต่างทำ เราเลือกเกิดไม่ได้ เลือกตายไม่ได้ แต่เราเลือกทำความดีได้
-          คนจะรวย ทำอย่างไรก็รวย คนจะเจ๊ง ทำอย่างไรก็เจ๊ง เพราะ เวรกรรมตามสนอง เนื่องจาก คนที่มีบุญมาแต่ชาติปางก่อน จะเกิดมาในตระกูลที่ดี แต่ถ้าคนเคยฆ่ากันมาแต่ชาติปางก่อน เกิดมาในชาตินี้ ก็ต้องมาฆ่ากัน กุศลาธรรม(ธรรมเป็นกุศล) พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
-          ลูกว่านอนสอนยาก ลูกติดยาเสพติดถ้าทำถูกวิธีแล้ว (แผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล) จะหันเหเร่มาทางดี พ่อแม่กินเหล้าเมายาเล่นการพนัน ลูกจะไปสอนพ่อแม่ไม่ได้ มีทางเดียวคือ เจริญพระกรรมฐาน สำรวมจิตแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล
-          พ่อมีเวรกรรม แม่มีเวรกรรม ลูกจะเอาดีไม่ได้ วิธีแก้ พ่อแม่สวดมนต์ ทำกรรมฐานแล้วแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร จึงจะช่วยได้
-          พ่อแม่สวดมนต์ภาวนา เจริญพระกรรมฐาน แผ่เมตตาให้ลูก ให้เจ้ากรรมนายเวร ลูกจะกลับร้ายกลายเป็นดี เลิกยาบ้าได้อย่างแน่นอน
-          มีลูกต้องเสี้ยมสอน ถ้าไม่เสียมสอน มันเป็นไปไม่ได้ ต้องฝึกลูกตั้งแต่เล็กๆ เหมือนนกอยู่ในกรงให้รีบสอน มีปีก มีหาง หนีออกจากกรงแล้ว ไม่ต้องตามไปสอนนะจะเสียใจอย่างน่าเสียดาย
-          สร้างบุญ ใช้สติ ไม่ต้องใช้สตางค์ เดียวนี้ผู้คนหาแต่สตางค์ แต่ลืมหาสติ ซึ่งสติได้มาจากการเจริญพระกรรมฐาน สติคือ ปัญญาเอาไว้ฆ่าข้าศึก คือ กิเลส
-          สำหรับคนที่ชอบเถียงพ่อแม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ จะนั่งกรรมฐานซัก ๑oo ปี ก็ไม่ได้อะไร ถ้าไม่ขอขมาและอโหสิกรรม วิธีการ ให้ เอาน้ำหนึ่งขันโรยดอกมะลิ ไปขอขมากรรมแก่พ่อ แม่ หรือปูย่า ตา ยาย ที่เราเคยทำไม่ดีต่อท่านไว้ ให้กล่าวว่า กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส
อันว่า โทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าชื่อ..............(ชื่อเราเอง) ได้พลั้งเผลอสติไปด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพี่ อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำในขันที่เตรียมไว้รดมือรดเท้า จากนั้น ให้ทางคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพี่ กล่าวตอบกลับว่า อโหสิกรรมให้ เป็นอันเสร็จพิธี แล้วชีวิตของท่านจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
-          บรรพบุรุษ คือ พ่อแม่ เป็นพระอรหันต์ ของลูก ไม่ต้องไปตามพระอรหันต์ที่ไหนหรอก เหลียวดู พ่อแม่ในบ้าน แล้วท่านจะรู้สึกว่า ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้ว
-          เขาร้ายมา           อย่าร้ายตอบ
เขาไม่ดีมา          จงใช้ความดีเข้าไปแก้ไข
คนตระหนี่           ให้ของที่ต้องใจ
คนพูดเหลวไหล    เอาความจริงใจเข้าไปสนทนา
-          พ่อแม่ที่ไม่มีกรรมฐานไม่มีศิล สมาธิ ปัญญา แล้ว จะสร้างแต่ความไม่ดีให้ลูก ทำไม่ถูก แถมรักไม่ถูกวิธีทำความไม่ดีให้ลูกดู เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็น ให้ลูกฟัง พ่อก็กินเหล้าให้ลูกเห็น แม่ก็เล่นการพนันให้ลูกดู ลูกก็กำหนดจดจำ เป็นกฎแห่งกรรมเชื่อหรือไม่
สามีไม่ดี                  แก้ที่ภรรยา
ภรรยาไม่ดี               แก้ที่สามี
ลูกไม่ดี                             แก้ที่พ่อแม่
พ่อแม่กินเหล้าเมายาสอนลูกให้เป็นโจร ต้องแก้ที่ลูก ให้ลูกสร้างความดี


หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

พระคาถาบูชา " นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา "
คติธรรมประจำใจของ พระโพธิสัตว์หลวงปู่ทวด
พูดมาก          เสียมาก
พูดน้อย         เสียน้อย
ไม่พูด           ไม่เสีย
นิ่งเสีย           โพธิสัตว์
ไม่ยึด           ไม่ทุกข์         ไม่สุข           ละได้ย่อมสงบ

การสร้างบุญกุศลด้วยการสวดมนต์ภาวนา


วิธีการทำบุญแบบง่ายๆ สำหรับคนไม่ค่อยมีเวลา
กล่าวถึงเวลาจะทำบุญ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง การตักบาตร หรือ เข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนใหญ่ และมักจะไม่มีเวลา ตักบาตร หรือ เข้าวัดทำบุญ กันซักเท่าไร ก็เลยเสียโอกาสในการ สะสมบุญ
ต่อไปนี้ จะขอบอกกล่าวเป็นตัวอักษรให้ทุกๆ ท่านได้อ่านพิจารณากัน เผื่อจะได้แง่มุมและความคิดใหม่ๆ ในการสร้างบุญสร้างกุศล สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือ มีเวลาทำเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งจะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจว่าถ้าหากทำตามอย่างที่บอกนี้แล้วจะได้อะไร?
 การสวดมนต์ไหว้พระจะสวดเวลาไหนก็ได้ที่คิดว่าว่าง และสบายใจ จะเป็น เช้า สาย บ่าย เย็น หรือ ก่อนนอน ก็ได้ตามความเหมาะสมโดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้


ลำดับขั้นตอนการสวดมนต์
    ก่อนอื่นต้องอธิฐานจิตเพื่อเปิดทางให้แก่ดวงวิญญาณ, เจ้ากรรมนายเวร สัมภเวสี หรือดวงวิญญาณชั้นต่ำ  ที่อยู่ภพอื่นก่อน เนื่องจากดวงวิญญาณเหล่านั้นไม่สามารถรองรับกระแสบุญอันแรงกล้าที่เกิดจากการสวดมนต์ภาวนานี้ได้ เว้นแต่เหล่าเทพเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่า โดยกล่าวว่าขอบุญที่เกิดจากการสวดมนต์-ภาวนา-เจริญสมาธิดังต่อไปนี้ ถึงเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้ข้าพเจ้าเจ็บป่วย (เป็นอะไร) หรือจะให้ใครก็ให้อธิฐานเอา และหากดวงวิญญาณท่านใดฟังแล้วไม่ชอบหรือฟังแล้วทรมานก็ขอให้หลีกหนีไปที่อื่นก่อนแล้วจึงกลับมาหลังที่ข้าพเจ้าสวดมนต์เสร็จเถอด จากนั้นก็เริ่มสวดมนต์ภาวนาได้เลย โดยเริ่มจาก

บูชาพระรัตนตรัย
อิมินา   สักกาเรนะ   พุทธัง   อะภิปูชะยามิ
อิมินา   สักกาเรนะ   ธัมมัง   อะภิปูชะยามิ
อิมินา   สักกาเรนะ   สังฆัง   อะภิปูชะยามิ
 
บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ   ภะคะวา   พุทธัง   ภะคะวันตัง  อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต     ภะคะวะตา   ธัมโม  ธัมมัง   นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ   สังฆัง   นะมามิ (กราบ)

บทนมัสการพระรัตนตรัย
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)
 
บทสวดขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต

บทไตรสรณคมน์
พุทธัง   สะระณัง  คัจฉามิ
ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  พุทธัง   สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ทุติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  พุทธัง   สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ


บทสวดถวายพรพระ
                อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ (พุทธคุณ)
 
            สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ (ธรรมคุณ)
 
            สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ (สังฆคุณ)
 
ชัยมงคลคาถา (บทพาหุงฯ)
              พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะ  สาวุธันตัง  ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะ  เสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะ  สัพพะรัตติง  โฆรัมปะนาฬะวะกะ  มักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง  ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ
            อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ  สุทารุณันตัง  ธาวันติโยชะนะปะถัง  คุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน   ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            กัตวานะ  กัฏฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา  จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง  วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง  ปุตเตนะ  เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ  สุทัฏฐะหัตถัง พรัมมัง  วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ  วิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต *  ชะยะมังคะลานิ 
            เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย  วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที หิตะวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัททะวานิ  โมกขัง  สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ
 
บทสวดชัยปริตร (บทมาหากาฯ)
                มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ 
            ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ  ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ 
       ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ 
       ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ 
       ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ 
(หมายเหตุ : ถ้าลงท้ายด้วย "เต" หมายถึงหลายคน แต่ถ้าลงท้ายด้วย "เม" หมายถึง คนเดียว)
บทสวดพุทธคุณ (สวดเท่าอายุบวก 1)
            อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
 
บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก
๑.     อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะโส ภะคะวา
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
๒.    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะโส ภะคะวา
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ
๓.    อิติปิ โส ภะคะวา  รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา  เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา  สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา  สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน
๔.    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโป  ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโย  ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
๕.    อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา  ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ยามา  ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
๖.     อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
               ๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญาณาสัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
      อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
๙.    กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อา ปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะเห ปาสายะโสฯ
โสโสสะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว อะสังวิ สุโลปุสะพุภะ อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
              ๑o. จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุ อุ ยาวะ
                     ชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุ ยะ ปะ กะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พรหมมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
             ๑๑ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอ
                   เตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ  มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
      
        ๑๒ นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ   
              สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโย โมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะ อะวันทา
นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ

พระคาถาชินบัญชร
            นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)
                        ปุตตะกาโม  ละเภ  ปุตตัง  ธะนะกาโม ละเภ  ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ  เทวานัง ปิยะตัง สุตตะ วา อิติปิ  โส  ภะคะวา  ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ  มะระณัง  สุขัง  อะระหัง  สุคะโต  นะโม  พุทธายะ
๑.           ชะยาสะนาคะตาพุทธา                    เชตะวามารังสะวาหะนัง
            จะตุสัจจาสะภังระสัง                       เย ปิวิงสุนะราสะภา
๒.           ตัณหังกะราทะโยพุทธา                   อัฏฐะวีสะตินายะกา
            สัพเพปะติฏฐิตามัยหัง                     มัตถะเกเตมุนิสสะรา
๓.           สีเสปะติฏฐิโตมัยหัง                        พุทโธธัมโมทะวิโลจะเน
            สังโฆปะติฏฐิโตมัยหัง                     อุเรสัพพะคุณากะโร
๔.          หะทะเยเมอะนุรุทโธ                        สารีปุตโตจะทักขิเณ
            โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง   โมคคัลลาโน จะวามะเก
๕.          ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง                    อาสุง อานันทะราหุโล
            กัสสะโป จะ มะหานาโม                   อุภาสุง วามะ โสตะเก
๖.           เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง                     สุริโย วะ ปะภังกะโร
            นิสินโน สิริสัมปันโน                       โสภิโต มุนิ ปุงคะโว
๗.          กุมาระกัสสะโป เถโร                       มะเหสี จิตตะวาทะโก
            โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง                  ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘.          ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ                    อุปาลี นันทะสีวะลี
            เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา                    นะลาเต ติละกา มะมะ
๙.           เสสาสีติ มะหาเถรา                        วิชิตา ชินะสาวะกา
            เอตาสีติ มะหาเถรา                        ชิตะวันโต ชิโนระสา
            ชะลันตา สีละเตเชนะ                      อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
      ๑o. ระตะนัง ปุระโต อาสิ                       ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
            ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ                    วาเม อังคุลิมาละกัง
      ๑๑ ขันธะโมระปะริตตัญจะ                      อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
            อากาเสฉะทะนัง อาสิ                      เสสา ปาการะสัณฐิตา
      ๑๒ ชินะ นานาวะระสังยุตตา                   สัตตะปาการะลังกะตา
            วาตะปิตตา ทิสัญชาตา                    พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา
      ๑๓ อะเสสา วินะยัง ยันตุ                        อะนันตะ ชินะเตชะสา
            วะสะโตเม สะกิจเจนะ                      สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
       ๑๔ ชินะปัญชะระ มัชฌัมหิ                     วิหะรันตัง มะฮีตะเล
            สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพ                  เต มะหาปุริสาสะภา
         ๑๕ อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข         ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
            ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ  สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
            สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต                  จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ
 
คำแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกกายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ : ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

คำแผ่เมตตาให้สรรสัตว์
สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ : จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ : จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ : จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ : จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทแผ่เมตตา ๓ โลก
         พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งหลายนั้นเทอญ

บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตาโหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตาโหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
 
กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
                 ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

บทกรวดน้ำ คุณแม่ชีใหญ่
"คุณแม่ชี ทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม"
(เตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดเพื่อทำการกรวดน้ำ) พระจัตตุโลก พระยมทั้งสี่ ข้าพเจ้าขอส่งน้ำอุทิศนี้
เข้าไปในลังกาทวีป ในห้องพระสมาธิ เป็นที่ประชุมการใหญ่
ของแม่พระธรณี ขอให้แม่พระธรณี จงมาเป็นทิพย์ญาณ เป็นผู้ว่าการ
ในโลกอุดร ขอให้แม่พระธรณี จงนำเอากุศล ผลบุญของข้าพเจ้า
ที่ได้กระทำในวันนี้ นำส่งให้แก่ข้าพเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ  
(พอกรวดน้ำเสร็จกล่าวต่อว่า) พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง สังฆังนิพพานัง
ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ให้แก่สรรพสัตว์ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ และขอถวายเป็น
ปฏิบัติบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า
พระอริยเจ้า พระอริยสงฆ์ และพระปัจเจกโพธิเจ้า
พระอรหันตเจ้า
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ บิดา มารดา ตระกูลพ่อ ตระกูลแม่
ตระกูลพี่ ตระกูลน้อง ตระกูลปู่ ตระกูลย่า ตระกูลตา ตระกูลยาย
ญาติพี่น้องทั้งหลาย เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย
จงนำและได้รับส่วนบุญส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้พึงกระทำ
ในครั้งนี้ ขอให้บุคลที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกินด้วยกายก็ดี
วาจาก็ดี ใจก็ดี ที่ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งในภพนี้ และในภพที่เคยผ่านมา
จงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้พึงกระทำ เมื่อได้รับอานิสงส์แล้ว
จงปลดปล่อยกรรม ปลดปล่อยกรรม ปลดปล่อยกรรม ด้วยกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม ให้แก่ข้าพเจ้าพร้อมทั้งครอบครัวข้าพเจ้า
ทั้งตระกูลปู่ ตระกูลย่า ตระกูลตา ตระกูลยาย ตระกูลพี่ ตระกูลน้อง
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้พระราชาพระมหากษัตริย์ เศรษฐี มหาเศรษฐี
ที่สืบสานพระศาสนาตั้งแต่พุทธกาลจนถึงปัจจุบัน มีพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอโศกมหาราช พระราชามหากษัตริย์ไทย มีสมเด็จพระนเรศวรมาหาราช
สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และวีรกษัตรีย์ทุกๆพระองค์
อันได้แก่ สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ฯลฯ
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ จตุสดมภ์ทั้ง 4 ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา
ท่านแม่ทัพนายกอง หัวหมู่ ขุนพล ทหารหาญทั้งหลาย ข้าทาสบริพาร
ครูหมัด ครูมวย ครูหอก ครูดาบ ครูศาสตราวุธ ทหารบก ทหารเรือ
ทหารอากาศ ทุกกรมกอง
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ พระแม่ธรณี แม่พระคงคามหาสมุทร แม่พระโพสพ
แม่พระเพลิง แม่พระพาย เจ้าทะเล เจ้าบาดาล เจ้าพิภพ
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ สุริยจักรวาล มีพระอาทิตย์ พระจันทร์
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ สัตตะโลหะ นวโลหะ รัตนชาติ
แร่ธาตุทั้งหลาย ช้างศึก ม้าศึก ช้างเสบียง ม้าเสบียงทั้งหลาย
วัว ควายทั้งหลาย หมูเห็ด เป็ดไก่ กุ้ง หอย ปู ปลา ทั้ง สัตว์น้ำจืด
น้ำเค็ม และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหลาย สัตว์ปีกทั้งหลาย
สัตว์ปีนป่ายทั้งหลาย สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย สัตว์ในไข่ทั้งหลาย
สัตว์ในครรภ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเข่นฆ่าก็ดี บริโภคก็ดี อยู่ในเนื้อ
อยู่ในหนัง อยู่ในกระดูก อยู่ในตับ ไต ไส้พุง อยู่ในทั้งหมดอาการ 32
ของตัวข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ สัมมาอาชีพของข้าพเจ้า ที่ได้มีกินมีใช้
ขอให้สัมมาอาชีพจงได้รับอานิสงฆ์ผลบุญนี้
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ ทรัพย์ของแผ่นดิน
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ ดวงจิตดวงวิญญาณ ทั้งหลายที่เคยจะเกิดมาเป็นลูก เป็
หลานแล้วไม่เกิด จงได้รับในบุญกุศล และจงเว้นจากการจองเวร
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ ดวงจิตของข้าพเจ้าที่เคยตกหล่นเป็นกรรม
อยู่ในนรกภูมิที่อยู่ทุกๆขุมนรกจงหลุดพ้นจากอุปกรรม วิบากกรรม
เคราะห์กรรม ด้วยกุศลในครั้งนี้
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ เชื้อโรคเชื้อรา เชื้อร้าย เชื้อมะเร็งทั้งหลาย
เชื้อไวรัสทั้งหลาย เชื้อโรคทั้งหลาย จงมีส่วนได้รับในบุญกุศลนี้
และโรคร้ายทั้งหลายขออย่าพึงมี อย่าได้เกิดกับลูกหลานข้าพเจ้า
จงหยุดที่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ ตั้งแต่นรกภูมิ อบายภูมิ สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย
เปรตทั้งหลาย อสูรกายทั้งหลาย ทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน
นรกทุกชั้น นรกทุกขุม ทุกภูมิ สัมภเวสีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นญาติ และไม่ใช่ญาติ
ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล ที่รู้จักก็ดี ที่ไม่รู้จักก็ดี ที่เอ่ยถึงก็ดี ไม่เอ่ยถึงก็ดี
ที่ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว ทั้งที่มีกาย และไม่มีกายทั้งที่มีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
และไม่มีธาตุ จงรับเอาส่วนกุศลที่ได้กระทำในครั้งนี้
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ พระอินทร์ พระพรหม พระยายม พระยายักษ์ พระสยามเทวาธิราช
พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬชัยศรี เจ้าพ่อเจตคุป เจ้าพ่อหอกลอง
ท้าวกุเวรมหาราช ท้าวทศรถ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬปักษ์
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ พญาครุฑ พญานาค พญาอนันตนาคราช พญางู พญาเงือก
พญาหนุมาน พญาเสือ พญาสิงห์ พญาเต่า พญาจระเข้ พญาปลาไหล พญาตะขาบ
พญาแมงป่อง ปู่ฤาษีทั้ง 108 พระองค์ ปู่อินตา ครูยา หมอยา เจ้าป่า เจ้าเขา
เจ้าทุ่ง เจ้าท่า เจ้าที่ที่บ้าน เจ้าที่ที่ทำงาน รุกขเทวดา นางไม้ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้ ธนบัตร ทุกสกุลเงินตรา ของโลกนี้ ที่เป็นทรัพย์ภายนอก
จงได้รับในกุศลผลบุญของข้าพเจ้า
กรรมใดก็ดีที่ข้าพเจ้าเคยมีกรรมต่อทรัพย์ของแผ่นดิน คนของแผ่นดิน ทำผิดเป็นถูกทำถูกเป็นผิด และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างกรรมกับผู้ใดไว้ ไม่ว่าอดีตชาติหรือปัจจุบันชาติไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคยสร้างเวรสร้างกรรมต่อท่าน จงได้รับอานิสงส์ผลบุญของข้าพเจ้า เมื่อได้รับผลบุญของข้าพเจ้าแล้ว จงปลดปล่อยกรรมปลดเปลื้องกรรม งดเว้นการจองเวรและขอดวงจิตที่เกิดในภพนี้ ชาตินี้ ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ด้วยกุศลในคราวครั้งนี้ด้วยเทอญ
นิพพานะ ปัจะโย โหตุ



ปฏิบัติเช่นนี้แล้วท่านจะได้อะไร?
๑.      คำถาม ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้น เคยคิดหรือไม่ว่าเราสวดมนต์บูชาใคร?
คำตอบ เราสวดมนต์บูชาคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ขณะที่สวดจิตเราก็น้อมอยู่ กับคุณพระรัตนตรัย ขณะนั้น-จิตเรามี พุทธานุสสติธัมมานุสสติสังฆานุสสติ ได้แล้วกรรมฐาน ๓ กอง
๒.    คำถาม ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้นเราสวดมนต์ด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจในการสวด ถามว่า อาการที่จิตสำรวม มีความตั้งใจในการสวดนั้น เป็นอาการของอะไร?
คำตอบ เป็นอาการของสมาธิ ได้แล้วสมาธิเบื้องต้น
๓.    คำถาม ขณะที่สวดมนต์ด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจ จิตของเราก็คอยนึกถึง ระวังไม่ให้หลงให้ลืมในบทสวด ถามว่า อาการที่คอยนึกถึง ระวังไม่ให้หลงลืมในบทสวดนั้นเป็นอาการของอะไร?
คำตอบ เป็นอาการของสติ ได้ฝึกสติในการสวดมนต์ไปในตัว
๔.    คำถาม ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จตั้งจิตเป็นสมาธิอธิษฐาน เอาเงินที่จบใส่ลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้เป็น ทานบารมี อธิษฐานบารมี ซึ่งก็วกมาเข้าเรื่องของบารมี ๓o ทัศ
บารมี แปลว่า กำลังใจ ซึ่งประกอบด้วย
๑.     ทานบารมี         
๒.     ศีลบารมี
๓.    เนกขัมมะบารมี
๔.    ปัญญาบารมี
๕.    วิริยะบารมี
๖.     ขันติบารมี
๗.    สัจจะบารมี
๘.    อธิษฐานบารมี
๙.    เมตตาบารมี
o. อุเบกขาบารมี
คำถาม  การที่สวดมนต์เพียงไม่กี่นาทีตรงนี้ จะได้อะไรบ้าง ?
คำตอบ ๑. ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จเราทำทาน คือ เอาเงินที่จบใส่ในขัน หรือ ภาชนะ ที่เตรียมไว้ ถือเป็น ทานบารมี
๒. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่นั้น ซึ่งไม่ได้เป็นการสร้างบาปกับใครไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวด ถือเป็น ศิลบารมี
๓. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่จิตเราปราศจากนิวรณ์มารบกวนใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ เป็น เนกขัมมะบารมี
๔. การสวดมนต์ไหว้พระ เป็นการกระทำที่งมงายหรือไม่ตอบ ไม่ เพราะเป็นการทำด้วยศรัทธาทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ เป็นการช่วยฝึกใจให้เกิดสติ มีสมาธิ เป็น ปัญญาบารมี
๕. ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีความเพียรเป็น วิริยะบารมี
๖. มีความเพียรแล้วไม่มีความอดทน ความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทน เป็น ขันติบารมี
๗. มีความเพียร มีความอดทนแล้ว แต่ขาดสัจจะในการกระทำ หมายถึง ความจริงใจ เพราะฉะนั้น ต้องมีความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติด้วยด้วย เป็น สัจจะบารมี
๘. เมื่อสวดมนต์เสร็จทำสมาธิ ตั้งจิตอธิษฐานการอธิษฐาน เป็น อธิษฐานบารมี
๙. นำเงินใส่ในภาชนะเสร็จ ก็แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล การแผ่เมตตา เป็น เมตตาบารมี
o. ขณะที่แผ่เมตตา ก็ต้องทำใจให้เป็นเมตตาไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็น พรหมวิหาร อุเบกขา วางเฉย อโหสิกรรมกับบุคคลที่เราได้ล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกรียดใคร ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบเย็น วางจิตให้เป็นอุเบกขา เป็น อุเบกขาบารมี (คืออุเบกขาที่ทรงด้วย พรหมวิหาร)