การทำ hydro-test ต้องทำหลังจากงานติดตั้ง pressure part แล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อตรวจหารอยรั่วของเตา นอกจากนี้การทำ hydro-test ควรทำอีก ในทุกๆ ครั้งหลังจากที่ได้ overhaul เครื่อง, ซ่อมรูรั่วของเตาเสร็จ หรือในโอกาสอื่นๆ ที่ต้องทำการตรวจสอบหารอยรั่วของเตา การใช้น้ำในการ test ต้องเป็น treat water จะเป็น demineralized water หรือ condensate ก็ได้ ถ้าหลังจาก test แล้วจะจุดเตาเลย น้ำที่ใช้ไม่ได้ถ่ายออกหมด การ treat สารเคมีให้ treat เป็นปกติ แต่ถ้าจะยังไม่จุดเตาหลังจากที่ test เสร็จ การควบคุมความเข้มข้นของน้ำที่นำมา test ต้องใส่ hydrazine ให้ได้พิกัดระหว่าง 200-300 ppm. ร่วมกับ ammonia หรือ morpoline เพื่อที่จะเพิ่มค่า pH. ให้ได้ถึง 10 ถ้า demineraliz water หรือ condensate มีไม่พอ ส่วนที่เหลือที่จะต้องเติมจะเติมด้วย potable water ที่ treat แล้วหรือน้ำอื่นๆ ที่ใสสะอาดปราศจากสารที่สามารถทำให้เกิด corrosion ก็ได้เช่นกัน แต่แล้วหลังจากนั้นก็ให้ถ่ายออกให้หมดซึ่งไม่ควรเก็บไว้ในเตาแบบ wet storage แต่ถ้าจะเก็บแบบ wet storage ทุกครั้งต้องใช้น้ำชนิด demineralized water หรือ condensate ล้วนๆ เท่านั้น จากคำแนะนำของ foster wheeler ว่ากรณีที่ทำ hydro-test จะใช้น้ำอะไรก็ได้ขอให้สะอาดปราศจากสิ่งปติกูน โดยมีข้อแม้ว่าถ้าส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ไม่ได้ทำมาจาก stainless steel กล่าวคือ furnace water walls, boiler banks, economizers, drainable superheater, reheaters. แต่ถ้าส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ทำมาจาก stainless steel เติมด้วย demin water หรือ condensate ทุกกรณีไปกล่าวคือ superheaters, reheaters, transfer pipes, and spray headers โดยไม่คำนึงว่าจะเป็น drainable หรือ non-drainable หรือไม่ก็ตาม superheater, reheaters ไม่ว่าจะทำมาจากอะไรก็ตามที่เป็นแบบ non-drainable หรือแบบท่อนอนก็ต้องใช้ demineralized water หรือ condensate เช่นกัน
ตามปกติการทำ hydro-test ไม่ว่าจะเป็นระดับบริษัทประกัน, ASME ประเทศ, รัฐ, มณฑล, เทศบาลหรือตามหลักฐานข้อมูลหลักเกณฑ์จะกำหนดเจาะจงให้ทำการ test ที่ pressure 1.5 เท่าของ design pressure เสมอในกรณีที่งานเพิ่มจะติดตั้งแล้วเสร็จใหม่ๆ และในช่วงแรกๆ ของการเดินเครื่อง หลังจากที่การเดินเครื่องในช่วงแรกๆ ได้ผ่านพ้นไปโดยมีงานซ่อมแซมหรือแก้ไขส่วนต่างๆ ของ pressure part ไปแล้ว ก็ควรจะมีการ test สำหรับตรวจรอยรั่ว ควรทำที่ operating pressure หรือที่ design pressure ก็เป็นการเพียงพอ
ก่อนที่จะเริ่มทำ hydro-test ทุกครั้งควรตรวจสอบความพร้อมดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่แปลกปลอมรวมทั้งเครื่องมือควรเก็บออกให้หมด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีใครอยู่ในเตา
3. ตรวจสอบ pressure gauge ให้ถูกต้องโดยนำไป calibrate ด้วย dead weight ให้ถูกต้องเสียก่อน
1. Safety valve ทุกตัวต้อง blank หรือ gag ไว้ ถ้ามีการ gag safety valve ที่ pressure ได้ 70 % ของ setting value นั้นๆ
2. อุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ design สำหรับทนทานพอกับการทำ hydro-test ควรเอาออกหรือ blank ไว้
3. ตรวจ valve ทุกตัวว่าการ operate ต้องไม่มีปัญหา
เมื่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกตรวจสอบแล้วขั้นตอนต่อไปคือ
1. ปิด manhole ทุกตัว
2. ปิด drain valve ทุกตัวและปิด valve ที่เข้าเครื่องซึ่งไม่สามารถทนต่อ pressure ของการทำ hydro-test ได้ ให้หมด
3. เปิด vent valve และ vent ของตัวที่อยู่สูงที่สุดของส่วนนั้น
4. ตรวจให้แน่ใจว่าน้ำที่จะเติมนั้นจะไม่ freeze ในระหว่าง test และส่วนที่เป็นแบบ non-drainable ส่วนนั้นจะไม่ทำให้เกิดการ freeze ขึ้น
5. ไม่ควรทำ hydro-test หรือใช้ pressure มากกว่า design pressure กับเตาที่ยังมีอุณหภูมิใกล้เคียงหรือเท่ากับ normal operating temperature
6. ต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงอยู่ดูแลในทุกขั้นตอนการทำ hydro-test
7. ให้ใช้ demineralized หรือ condensate สำหรับส่วนที่เป็น superheaters สารเคมีต้องใส่เพื่ออาจเป็นไปได้ที่จะลดการเกิด corrosion
การเติมน้ำด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับ pressure part ตรวจสอบให้แน่ใจว่า drum metal และน้ำที่เติม temperature อย่างน้อยต้อง 70 0F (21 0C ) และส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ pressure part ก็ต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 0F (21 0C ) เช่นกัน จากคำเตือนที่ว่าอุณหภูมิต่ำสุดของ drum metal และน้ำในระหว่างที่ทำการ test นั้นไม่ให้ต่ำกว่า 70 0F (21 0C ) เป็นเพราะว่าจุดนี้จะเป็นจุดของ brittle กับ ductile ของ metal มาเจอกัน เป็น risk point
ในขณะที่เตาเย็นและไม่สามารถจุดเตาได้ควรถือปฏิบัติจากข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
1. เติมและ circulate น้ำที่ heat จาก source อื่นๆ หรือ circulate น้ำที่ heat จาก source อื่นเพื่อให้ได้ temperature ตามที่แนะนำมา วัดผล drum temperature โดย surface thermo-couple.
2. ถ้าสามารถ heat จาก source อื่นได้ให้ต่อ line saturate เข้ากับ line drum blowdown หรือ line chemical เพื่อ heat drum shell ปฏิบัติขณะที่ drum level อยู่ที่ normal operating
3. การเติมน้ำได้ก็ต่อเมื่อ temperature ของ drum metal สูงถึงพิกัดแล้วการ control temp. ควรจะรักษาให้ drum metal สูงกว่า พิกัด 3 ถึง 6 0C ตลอดทั้งนี้ก็เพื่อให้น้ำที่จะเติมเพิ่มเข้ามา ซึ่งจะมาทำให้ drum metal temperature ลดลงต่ำกว่าพิกัด
4. ใช้ oil burner หรือ gas เล็กๆ ช่วยจุดตรงบริเวณใต้เตาจนได้ temperature ตามพิกัด
ในขณะที่เตาเย็นแต่ก็ยังสามารถใช้ burner ของตัวมันเองได้ควรเติมน้ำให้ได้ในระดับ normal operating แล้วจุดเตาเพื่อเพิ่ม metal temp. ให้ได้สูงกว่าพิกัด 3 ถึง 6 0C แล้วดับเตาและเติมน้ำได้
ข้อควรระวัง !!!
ขณะเติมน้ำให้ตรวจสอบรอยรั่วตรง line drain และตามบริเวณ man ways ปิด vent valve เมื่อน้ำล้นออกมา, การเพิ่ม pressure ควรเพิ่มช้าๆ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการ shock ข้อกำหนดการเพิ่ม pressure กำหนดให้ไม่เกิน 3.5 kg/cm2 ต่อนาที อนึ่งถ้าทำการ hydro-test ที่ pressure สูงกว่า design pressure ให้ลด pressure ลงช้าๆ การตรวจสอบรอยรั่วตลอดทั้งเตาควรกระทำในขณะที่ pressure ลดลงมาถึง operating pressure หรือ design pressure เสียก่อน เมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จให้ลด pressure ลงอย่างช้าๆ เช่นเดิมโดยปิด vent และ drain vent แต่ก่อนหน้าที่จะทำการจุดเจาใน line drain ต้องมีความมั่นใจว่าไม่มีน้ำไหลออกมาอีก
ขอขอบคุณ คุณวรวุฒิ จงเจริญรัตน์
สำหรับข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น