วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทำมัยจึงต้องมีการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม



          เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการทำกิจกรรมการตรวจสอบใดๆ ก็ตาม มีแต่จะทำให้โรงงานเสียเงินเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับ พนักงานฝ่ายตรวจสอบ, ค่าว่าจ้างผู้ชำนาญการในการตรวจสอบ/บริษัทตรวจสอบ, ค่าจ้างตรวจสอบ/ทดสอบ (ซึ่งบางครั้งต้องว่าจ้างมาจากต่างประเทศเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือผู้ชำนาญการการด้านนั้นๆ) หรือ แม้แต่ค่าโปรแกรมจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
         เมื่อมีแต่เสียเงิน แล้วทำไมโรงานต่างๆ จึ่งจำเป็นต้องทำการตรวจสอบระบบท่อและอุปกรณ์ในโรงงานอีกล่ะ? เก็บเงินเอาไว้ขยายโรงงานหรือ จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นหรือเป็นโบนัสให้กับพนักงาน ไม่ดีกว่าหรือ?
-          บางคนอาจมีความคิดว่า ผู้บริหารโรงงานไม่มีอะไรทำ เลยต้องคิดโครงการตรวจสอบขึ้นมาเพื่อให้พนักงานมีงานเพิ่มขึ้น
-          จริงๆ แล้วโรงงานที่เดินเครื่องอยู่นั้นมีความต้องการประการหนึ่งคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเดินเครื่องให้ต่อเนื่องได้นานที่สุด และเกิดปัญหาความเสียหายกับอุปกรณ์เครื่องจักรน้อยที่สุด ?
-          การหยุดเดินเครื่องแต่ละชั่วโมงนั้นมีค่าใช้จ่ายมหาศาล และบางโรงงานอาจมีมูลค่าความเสียหายหลายสิบล้าน
-          การหยุดเดินเครื่องที่ไม่ทราบล่วงหน้า อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ, ไฟไหม้, การระเบิด, หรือแม้กระทั่งเครื่องจักรเกิดการเสียหาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วจะต้องเสียเวลาในการ แก้ไข, ซ่อมแซม, เพื่อที่จะให้ใช้งานต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องจัดหาอะไหล่ชิ้นส่วน, และผู้รับเหมา ซึ่งไม่สามารถจะหาได้ในทีนที นั่นหมายถึงจะทำให้มีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นกว่าปกติ

-          กรณีเกิดไฟไหมหรือระเบิดจะทำให้มีความเสียหายเป็นบริเวณกว้างก็จะยิ่งต้องใช้เวลาซ่อมและแก้ไขนานขึ้นไปอีก ซึ่งจะส่งผลให้การขออุนุญาติเปิดใช้งานโรงงานใหม่อีกครั้งจากหน่วยงานราชการก็ยุ่งยากขึ้นตามไปด้วย และค่าเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น
-          ส่วนการหยุดซ่อมบำรุงตามหมายกำหนดที่วางแผนเอาไว้ จะสามารถเตรียมอะไหล่ ชิ้นส่วน และผู้รับเหมา ไว้ล่วงหน้า จึ่งสามารถทำการซ่อมบำรุงได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาหยุดการเดินเครื่องให้เหลือน้อยที่สุดได้


          ดังนั้น การที่จะลดค่าใช้จ่ายของโรงงานลงได้นั้น ทางโรงงานจะต้องรู้ว่าจะหยุดซ่อมบำรุงเมื่อใดที่จะทำให้โรงงานสามารถเดินเครื่องได้นานที่สุดโดยไม่มีการหยุดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งทางโรงงานต้องรู้สภาพของโรงงานว่าจำเป็นต้องทำการซ่อมบำรุงระบบท่อต่างๆ เมื่อไร และจะต้องเปลี่ยนอะไหล่ ชิ้นส่วน อะไรบ้าง เพื่อทำให้โรงงานของตน สามารถใช้งานระบบต่างๆ ของอุปกรณ์ด้วยความปลอดภัย, สามารถลดต้นทุนการซ่อมบำรุง, สามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้มากขึ้น, สามารถลดโอกาสของอันตรายที่จะเกิดกับพนักงาน เช่น การระเบิด ไฟไหม้ หรือสารเคมีฟุ้งกระจาย เป็นต้น นอกจากนั้น สามารถลดความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และยังใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการลดเบี้ยประกันภัยของโรงงานหรืออย่างน้อยก็ไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกันแม้ว่าโรงงานจะมีอายุการใช้งานมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น