วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

9 วิธีเอาชนะอุปสรรคในชีวิต


         น้อยคนนักในโลกนี้ที่จะไม่รู้จักคำว่า "อุปสรรค" แทบทุกคนต้องเคยประสบพอเจอกันมาแล้ว ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรในเรื่องการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ อุปสรรคในเรื่องของการทำงาน ฯลฯ แล้วแต่ว่าใครจะเจอมากเจอน้อย บางคนเจออุปสรรคในชีวิตมามากมาย แต่ก็สามารถฝ่าฟันไปได้จนประสบความสำเร็จในชีวิต กลายเป็นตำนานเล่าขานให้เป็นตัวอย่างและเป็นกำลังใจให้แก่คนรุ่นหลังเรียนรู้ เพื่อความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพียงเล็กน้อยก็มีความย่อท้อและยอมแพ้ง่ายๆ ยิ่งขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจในบ้านเรากำลังย่ำแย่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งตอกย้ำความพ่ายแพ้แก่อุปสรรคของคนในสังคมลงไปอีก ก็เลยมีข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ว่าด้วย ๙ วิธีเอาชนะอุปสรรคในชีวิต โดยเรียบเรียงมาจากในหนังสือชีวิตวันนี้ เล่ม ๑ ซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ เป็นนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และจิตแพทย์ ผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับของเมืองไทย โดยท่านมีข้อแนะนำที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ
         1. มีความฝันและจินตนาการที่ดีเข้าไว้ ชีวิตถ้าขาดความฝันก็แห้งแล้ง เราต้องฝันว่า เรามีหนทางชนะอุปสรรค ความฝันที่ดีเหล่านี้จะทำให้เราเกิดกำลังใจ และอยากทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป
          2. คิดว่าทุกอย่างมีความเป็นไปได้ พุทธศาสนาสอนว่า ทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นอนิจจัง คือไม่แน่นอน ฉะนั้นความเป็นไปไม่ได้ ชีวิตคุณมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งนั้น จงเลิกพูดคำของคนที่เกิดมาเพื่อจะแพ้ และแพ้ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มลงมือทำเสียอีก
          3. อย่าคิดถึงปมด้อยของตัวเอง เพราะการนึกถึงปมด้อยของตัวเอง จะเป็นตัวฉุดให้คุณหยุดทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ คุณจะขาดความกล้าหาญ ขาดพลัง จงคิดว่าปมด้อยเป็นความปกติของชีวิตเราไม่ได้ แตกต่างและไม่ได้ด้อยกว่าใครๆ ไม่เป็นคนสมบูรณ์แบบหรอก และไม่มีใครที่ไม่มีความบกพร่องเลยเช่นกัน
          4. ปลุกความกล้าให้เกิดขึ้นเสมอ จงลดความกลัวเหตุการณ์หรือผู้คนต่างๆ เสีย แล้ว บอกกับตัวเองว่าคุณเป็นคนกล้าหาญ จงหัดปฏิเสธความกลัวบ่อยๆ และบอกกับตัวเองว่าคุณกล้ามากขึ้นๆ ความกลัวต่างๆ จะจางไปจากตัวคุณเอง
          5. มองจุดดีหรือจุดเด่นของตัวเองให้พบและเลิกดูถูกตัวเองเสียที คนเรามีทั้งดีและ ไม่ดีถ้าคุณคอยจับผิดตัวเอง มองแต่สิ่งที่คิดว่าไม่ดี คุณก็จะมองไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงของคุณเอง
          6. มีความรักเพื่อนมนุษย์ให้มากขึ้น ให้ลดความเกลียดชังหรือความโกรธเพื่อนมนุษย์ เพราะถ้าคุณยิ่งเกลียดและโกรธ เท่ากับคุณสร้างศัตรูทุกวันๆ และมากขึ้นๆ ตามจำนวนความเกลียดและความโกรธของคุณ ถ้าคุณเข้าใจและยอมรับในความบกพร่องของเพื่อนมนุษย์ที่มีสาเหตุมาจากสันดานดิบของแต่ละคนที่หลงเหลืออยู่ ร่วมกับความไม่รู้ของแต่ละคน ซึ่งมีกันทุกคน คุณก็จะโกรธเขาน้อยลง และจะยอมรับเขาได้มากขึ้นว่า เขาจะมีความทุกข์จากสิ่งบกพร่องของเขานั่นเอง อย่าให้ความบกพร่องของเขามาทำลายความสุขของชีวิตคุณเลย เราจะให้อภัยเขาได้ เพราะเข้าใจถึงความบกพร่องของเขาได้แล้ว แค่นี้ ก็ถือว่าคุณมีความรักให้เพื่อนมนุษย์ได้มากขึ้นแล้ว
          7. มีทัศนคติที่ดีต่อโลกและชีวิต อย่ามองโลกในแง่ความเป็นจริงไปซะทั้งหมด เพราะชีวิตจะแห้งแล้ง จงมีความเชื่อที่ดี จงมีความหวังที่ดี และจงมีความรักที่ดี และมีจินตนาการถึงเหตุและผลที่เกิด ทั้ง 4 ตัวนี้จะทำให้คุณมีทัศนคติที่ดีต่อชีวิต ทั้งของตัวเองและคนอื่น จะทำให้อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
          8. ถ่อมตน อย่าหยิ่งหรือจองหอง ความถ่อมตนจะทำให้เกิดสติปัญญา ความถ่อมตนจะทำให้เราไม่เหลิงถ้าเราอยากเป็นผู้ชนะอุปสรรค และความถ่อมตนจะทำให้เราไม่เจ็บปวดมากถ้าเราเป็นผู้แพ้
          9. หมั่นศึกษาและเลียนแบบ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งโดยการอ่าน การฟัง หรือ การไต่ถาม ประสบการณ์ชีวิตของคนเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมามากมาย ถ้าเราได้ศึกษา เราจะเกิดกำลังใจ และอยากเลียนแบบอย่าง (ข้อนี้สำคัญถือเป็นวิธีการเรียนรู้โดยวิธีลัดไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลาจากประสบการณ์จริงไม่มีที่ไหนเปิดสอน และสามารถนำมาเป็นแนวทางปรับใช้กับชีวิตของคุณได้เลย ผมก็คนหนึ่งที่กำลังใช้วิธีนี้อยู่)
          ถ้าคุณมีแนวคิดดังที่กล่าวมาแล้วนี้ และเริ่มลงมือปฏิบัติตาม อุปสรรคทั้งหลายในชีวิตก็จะน้อยลงเพราะคุณจะเกิดพลัง กำลังใจ สติ ปัญญา ความกล้าหาญ และกล้าลงมือกระทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ มีความเชื่อ ความหวังที่ดีในชีวิตมากขึ้น ศัตรูก็น้อยลง มีมิตรมากขึ้น ชีวิตมีความสุขและความสำเร็จมากขึ้น แม้บางครั้งถ้าเราไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้จริงๆ แต่เราก็จะมองข้ามไปและรอคอยโอกาสใหม่ด้วยจิตใจที่มองโลกในแง่ดี ไม่ทุกข์ร้อนกับสิ่งที่ผิดหวังจริงๆ มากมายนัก พร้อมจะเกิดกำลังใจใหม่และมีพลังเริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งเท่ากับคุณเป็นผู้ชนะอุปสรรคนั้นนั่นเอง ถือเป็นก้าวแรกของการเอาชนะอุปสรรคแบบไม่รู้ตัวของคุณเอง

ที่มา : http://www.songpak16.com/aticle/9coice.html

แนะนำ 10 อาชีพ ออนไลน์

วันนี้ลองมาดูกันซิว่าการหารายได้ผ่านระบบออนไลน์ จะสามารถสร้างเป็นอาชีพเสริมที่ทำกันได้ง่าย ๆ และก็มีคนประสบความสำเร็จกันมาแล้วมากมาย
1.แปลงข้อมูลเป็นเงิน
อัน นี้หลายท่านอาจได้เห็นอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นตามเว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์ที่รับโฆษณา เช่น รับจ้างพิมพ์งาน รับจ้างทำรายงาน หรือวิทยานิพนธ์เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการเปิดหลักสูตรปริญญาตรี สำหรับผู้บริหาร ซึ่งแน่นอนด้วยความเป็นผู้บริหาร การที่จะให้ไปนั่งทำรายงานส่งอาจารย์คงเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ เข้าให้ถึงกลุ่มลูกค้าแบบนี้ให้ได้ และเราก็ รับพิมพ์รายงานซะเลย ที่เราต้องก็แค่ ไปค้นคว้าข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเอามาเรียบเรียงให้อ่านง่าย ๆ เท่านั้นเอง

2.เอาสินค้าไปวางในอินเตอร์เน็ต
ไอเดียนี้เราใช้กันมานานมากแล้วนะครับ เพราะหลายคนก็เล่นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมอย่าง ebay วิธีการก็แค่หาสินค้าดีดีไปวางใน ebay และก็ขายไป อันนี้ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้เช่นกันครับ

3.เอาสินค้าออนไลน์ออกมาขายข้างนอก
อัน นี้ตรงข้ามกับไอเดียที่แล้วครับ นั่นคือ เราอาจไปหา สินค้าแปลก ๆ หรือสินค้าแบรนเนมจากใน ebay ซึ่งมีราคาถูกกว่าที่วางขายในตลาด และก็เอามาขายต่อ จนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ

4.ขายโฆษณา
อัน นี้หลายท่าน ชำนาญกันอยู่แล้วนะครับ แค่ทำเว็บไซต์ให้ดังก็หาเงินจากโฆษราได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ยากตรงที่ต้องมีเทคนิคในการนำเสนอนั่นเอง แต่เมื่อหลายปีก่อน มีไอเดียที่น่าสนใจคือมีนักศึกษาชาวอังกฤษคนหนึ่งที่มีความคิดประหลาด ประกาศขายพื้นที่บนหน้าเว็บของตนเองทุกตารางนิ้วบนหน้าจอ โดยขายแค่พิกเซลละ 1 เหรียญสหรัฐ ปรากฏว่ามีคน แห่มาซื้อ จนเจ้าของเว็บได้เงินไปเป็นล้าน เหรียญสหรัฐ
5.รวยด้วยคลิก
อัน นี้หลายท่านชอบมาก แบบตั้งหน้าตั้งตาทำ ปั่นรายได้ได้มากกว่าเดือนละ $300 ซึ่งเจ้าตัวที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ ทำบล็อกแล้วติด Adsense หรือว่าการฝากไฟล์ ไว้กับ เว็บฝากไฟล์เช่น Ziddu.com หรืออีกหลาย ๆ ค่ายก็มีวิธีการต่างออกไป และน่าสนใจต่างกัน ดังนั้นคงอยู่ที่เทคนิคของแต่ละคน

6.รับจ้างโปรโมตเว็บ
ใน ฐานะที่เราโลดแล่นบนโลกออนไลน์มานาน เราก็คงได้ยินบ่อย ๆ ที่พูดถึง  SEO (Search Engine Optimize)  ผมเองก็นำเสนอไปหลายบทความ ดังนั้น สิ่งที่มือใหม่หลายคนสอบตกก็คือเรื่องของ  SEO (Search Engine Optimize)  นั่นเอง เพราะจะเห็นได้ชัดมากมาย นั่นคือ มีเว็บไซต์มากมายที่เปิดขึ้นมาและเราไม่รู้จัก (+555+) ดังนั้นช่องทางหาเงินของเราก็คือ ไปปรับปรุงเว็บไซต์ของลูกค้าให้ดังกระฉ่อนโลกไปเลยนั่นเองครับ

7.ขายเว็บ
อัน นี้เห็นกันมากตามเว็บบอร์ด  คือการทำเว็บให้ดัง และมีรายได้สูง ๆ และก็ขายออกไป ซึ่งถ้า เว็บเราสามารถทำประโยชน?ให้กับบริษัทใหญ่ ๆ หรือเป็นช่องทางทำเงินได้ หลาย ๆ คนก็ยอมจ่ายเงินสูงมาก ในการได้เว็บนี้มา เพราะงั้น การขายเวบก็เป็นอีกรายได้ที่น่าสนใจทีเดียว

8.รับจ้างทำเว็บ
อัน นี้ผมใช้มาตั้งแต่สมัยเรียน เพราะมันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้เว็บเรามีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิธีการก็แค่ เอาเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ทำเว็บ เพราะถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือง่าย ๆ แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ยังไม่ทราบ ดังนั้น การรับจ้างทำเว็บก็ยังเป็นช่องทางทำเงินไปอีกนานครับ
9.รับจ้างเขียนบทความ
อย่าง ที่ทราบ ๆ กันดีครับ กระแสบล็อกมาแรงกว่า พรุแตกอย่างนี้ เพราะงั้นมีคนมากมายที่พยายามหารายได้ผ่านบล็อก แต่ไม่ค่อยมีเวลามากนัก เพราะงั้นสิ่งที่น่าสนใจก็คือ การรับจ้างเขียนบทความ วิธีการก็ไม่ยากครับ หากคุณมีความรู้เรื่องนั้น ๆ อยู่พอสมควร คุณก็แต่งออกมาเป็นบทความ และก็ขายบทความ แต่ถ้าไม่มีความรู้ล่ะ ก็ไม่ยากครับ คุณก็ไปหาเว็บ อินเตอร์สักเว็บที่มีเนื้อหาที่คุณต้องการและก็แปรเป็นไทยก็เท่านั้นเองครับ
10.รายได้จาก domain seller  
อัน นี้ก็ไม่ยากครับ แต่ต้องศึกษาและมีประสบการณ์เล็กน้อย นั่นคือ คุณก็ไปจดโดเมนในชื่อที่สวย ๆ และดีเยี่ยมในตลาด ในราคาประมาณ $10 และก็เอามาขายต่อในราคา $100 หรือ $1000 โดเมนบางชื่อ อย่างเช่น Thailand.com ถูกซื้อมาในราคา ร้อยล้านบาทเลยทีเดียว หลายคนมีโดเมนในมือ นับร้อยชื่อ ซึ่งก็เพื่อที่จะให้ลูกค้าเลือกซื้อนั่นเอง แต่ตรงนี้ต้องมีประสบการณ์ หรือมีความรู้ในเรื่องการทำเว็บอยู่พอสมควรนะครับ
ลองไปศึกษากันดู

ที่มา : http://www.keajon.com/10job-online/

การเลือกวัสดุทำใบมีด

บทนำ
          เหล็กแต่ละชนิดจะตั้งมุมองศาคมได้บางสุดขึ้นอยู่กับขนาดคาร์ไบด์ในเหล็กชนิดนั้นกล่าวง่ายๆ ก็คือถ้าเหล็กมีผลึกคาร์ไบด์ใหญ่ก็ต้องตั้งองศาคมให้มาก ถ้ามีผลึกคาร์ไบด์เล็กก็ตั้งองศาคมให้บางกว่ามีดที่ทำจากเหล็กชนิดนั้นถึงจะสามารถรักษาความคมได้อย่างคงทน โดยกำหนดให้ที่ปลายคมชนิดที่เรียกว่าคมที่สุด มีความหนา 1 ไมครอน (คมจะทื่อเมื่อมีความหนาเท่ากับ 10 ไมครอน, 1มม = 1000ไมครอน)ต้องขออธิบายเท้าความนิดนึง ไม่อย่างนั้นท่านทั้งหลายที่ไม่มีพื้นฐานทางโลหะวิทยาคงจะ งง เอาสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ โดยทั่วไปเหล็กที่ใช้ทำมีดส่วนใหญ่เป็นเหล็กกล้าผสม (Alloy steels) ทั้งนี้ เหล็กกล้าผสมจะมีการผสมธาตุ Ni, Mn, Cr, V, Mo, Co, Ti, และอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่สูตรใครสูตรมัน ในที่นี้ขอรวบยอดว่าธาตุที่เอ่ยชื่อมานี้เมื่อผสมไปแล้วจะเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของเหล็กได้สองลักษณะคือรวมกับธาตุเหล็ก Fe เป็นผลึกของเหล็กชนิดต่างๆ ตามที่เราเคยได้ยินมาถ้าเป็นของมีดก็ คือ มีโครงสร้างมาร์เทนไซท์ ทำให้เหล็กกล้าผสมมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้นมาก เช่น แข็ง, เหนียว, ทนต่อการสึกหรอ, ทนการกัดกร่อนหรือสนิม, ฯ กับอีกด้านหนึ่งก็ คือ การรวมกับคาร์บอนแล้วเป็นผลึกคาร์ไบด์ ผลึกคาร์ไบด์นี้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กหรือมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับส่วนผสมหลักรวมทั้งกระบวนการผลิต (เช่นการอบชุบ) ผลึกคาร์ไบด์นี้จะแข็งและเปราะจะไปจับอยู่ตามขอบผลึกของเหล็ก โดยมีผลึกของเหล็กเป็นตัวยึดให้คาร์ไบด์ติดอยู่ได้ เวลาตั้งคมมีดถ้าบางกว่าขนาดของผลึกคาร์ไบด์แล้วบังเอิญเจ้าคาร์ไบด์นี้ไปอยู่ตรงคมพอดีเนื้อเหล็กที่ยึดคาร์ไบด์ไว้จะมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้อย ฉะนั้น เวลาลับให้คมหรือขณะใช้งานผลึกคาร์ไบด์จะร่อนหลุดออกมา (chip) ก็ทำให้ดูเหมือนว่าคมบิ่นเพราะคาร์ไบด์แข็งแต่เปราะหรือมีความยืดหยุ่นตัวน้อย (inelastic) เมื่อได้รับแรงกระแทกจากด้านข้าง ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งองศาคม กล่าวคือถ้าเหล็กมีผลึกคาร์ไบด์ใหญ่ก็ต้องตั้งคมให้หนาหรือองศาเยอะเพื่อให้มีเนื้อเหล็กมากพอที่จะจับผลึกคาร์ไบด์ให้แน่นพอ หรือถ้าเหล็กมีผลึกคาร์ไบด์เล็กก็สามารถตั้งคมให้บางหรือองศาน้อยได้เพราะมีเนื้อเหล็กเพียงพอที่จะจับผลึกคาร์ไบด์ให้หนาแน่นได้ ตามปกติผลึกคาร์ไบด์ที่เกิดขึ้นในเหล็กแต่ละชนิดจะมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไป
      ทีนี้มาดูกันซิว่าเหล็กดังๆ ที่เรารู้จักกัน แต่ละชนิดและแต่ละเกรด จะมีขนาดผลึกของคาร์ไบด์ระดับใดและมีปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้งควรจะตั้งคมกี่องศา ซึ่งคาร์ไบด์ตัวที่ดังๆ ก็คือโครเมียมคาร์ไบด์ที่เกิดจากโครเมียมที่ใส่เพื่อให้เหล็กต้านทานการเกิดสนิม อีกชนิดก็ คือ วานาเดียมคาร์ไบด์ที่ใส่เพื่อให้เหล็กทนต่อการสึกหรอ


1.     เหล็ก 440C มีผลึกคาร์ไบด์ขนาดประมาณ 1-45 ไมครอน และมีปริมาณถึง 12เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มุมองศาต่ำสุดที่ควรตั้ง 30+องศา
2.     เหล็ก 420HC ที่มีปริมาณเปอร์เซ็นต์คาร์ไบด์ต่ำมาก ซึ่งไม่ได้ระบุว่ากี่เปอร์เซ็นต์  และมีขนาดผลึกคาร์ไบด์เพียงแค่ 1 ไมครอน เท่านั้น มุมองศาต่ำสุดที่ควรตั้งไม่ถูกจำกัดด้วยขนาดของผลึกคาร์ไบด์แต่ไปจำกัดด้วยความแข็งหรือ Strength แทน โดยทั่วไปมีดใช้งานตัดทั่วไป (ไม่ใช่ใช้สับ) ก็ประมาณ 20+องศา
3.     เหล็ก ATS34 มีปริมาณเปอร์เซ็นต์คาร์ไบด์ 18 เปอร์เซ็นต์ ขนาดผลึกคาร์ไบด์ใหญ่สุด 25 ไมครอน มุมองศาต่ำสุด 25+องศา

4.    เหล็ก AEB-L, O1 มีปริมาณเปอร์เซ็นต์คาร์ไบด์ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ขนาดผลึกคาร์ไบด์ 1 ไมครอน เช่นเดียวกับ 420HC

5. เหล็ก D2 มีผลึกคาร์ไบด์ที่ใหญ่ประมาณ 1-45 ไมครอน ปริมาณเปอร์เซ็นต์ไม่ระบุ และมี มุมองศาต่ำสุดที่ควรตั้ง 30+องศา
6. เหล็ก Friction Forged D2 เหล็กลิขสิทธ์ของ Diamond Blades ที่ว่ามีพลังแรงเหมือนกับว่าไปกินสารสเตอรอยด์ มา (นิตยสารเบลดเค้าพาดหน้าปกไว้ว่าอย่างนี้) มีผลึกคาร์ไบด์ขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ปริมาณไม่ระบุ มุมองศาต่ำสุดไม่ระบุ
7. เหล็ก CPM S30V, S90V มีผลึกคาร์ไบด์ที่ใหญ่ประมาณ 1-10 ไมครอน ปริมาณเปอร์เซ็นต์ไม่แจ้ง และมี มุมองศาต่ำสุดที่ควรตั้ง 12+องศา จุดแข็งที่สำคัญของเหล็ก CPM (Crucible Particle Metallurgy) หรือ P/M อื่นๆ ก็คือขนาดผลึกสม่ำเสมอมีขนาดใกล้เคียงกันเลยทำให้มีคุณสมบัติที่แน่นอนกว่าและยังได้ประโยชน์จากการที่ผลึกมีขนาดเล็กกว่าเหล็กที่ผลิตจากกระบวนการผลิตอื่นๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าวัดกันที่ความคมอย่างเดียวก็ยังสู้เหล็กกล้าธรรมดาที่ไม่มีคาร์ไบด์หรือเหล็กกล้าผสมที่มีผลึกคาร์ไบด์เล็กกว่าไม่ได้อยู่ดีรวมทั้ง Friction Forged ด้วย
       เหล็กยิ่งแข็งมากจะยิ่งตั้งมุมองศาคมได้บางขึ้นเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าสามารถชุบแข็งให้เหล็กมีความแข็งสูงสุดได้อาจถึง 70 HRC เสียด้วยซ้ำ และมีงานวิจัยหรือผลทดสอบหลายชิ้นแสดงว่าเหล็กที่มีความแข็งสามารถลับให้คมได้ดีกว่าเหล็กที่อ่อนกว่า ถึงแม้ว่าจะใช้หินลับมีดที่มีขนาดละเอียดมากๆ ถึง 1,000 กริต มาลับเหล็กที่อ่อน ก็ยังไม่ได้ความคมเท่าใช้หินที่ 200 กริต ลับมีดที่มีความแข็งมากกว่า ฉะนั้น ยิ่งแข็งยิ่งดี ข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก แต่อย่าลืมว่าเหล็กที่ความแข็งเท่ากันสมมุติว่าที่ 60 HRC จะมีความเหนียวหรือความยืดหยุ่นตัว (ductility) ไม่เท่ากัน เหล็กที่ดีต้องทั้งแข็งและเหนียว ซึ่งความเหนียวของเหล็กที่มากที่สุดขึ้นอยู่กับจุดที่เหนียวน้อยที่สุดซึ่งก็ คือ คาร์ไบด์ นั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นผลึกของเนื้อเหล็กเองต้องมีขนาดเล็กด้วย คือ ประมาณ 2-4 ไมครอน หลังจากการอบ ถ้าอบชุบ ไม่ดีขนาดของผลึกของเหล็กอาจจะใหญ่ขึ้นได้ซึ่งจะมีผลทำให้ความเหนียวลดลงอีกส่งผลต่อความแข็งก็คือกระบวนการอบชุบง่ายหรือยาก เหล็กแต่ละชนิดมีขั้นตอนในการอบชุบไม่เหมือนกัน เหล็กบางชนิดการอบชุบยากเช่น BG 52 หรือง่ายเช่น เหล็กตระกูล10XX ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าในการอบชุบจะทำให้ผลึกของเหล็กเปลี่ยนไปเป็นมาร์เทนไซท์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ถ้าไม่หมดซึ่งก็คือมีออสเตนไนท์ตกค้างเหลืออยู่ จะทำให้ความแข็งลดลง
       กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่าถ้าพิจารณาจากข้อเท็จจริงขั้นต้นนี้แล้ว ความคงทนของคมก็น่าจะนับเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของเหล็กที่ใช้ทำมีดได้ แต่อาจจะต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมว่าจะวิธีการวัดคุณสมบัติทางกายภาพได้อย่างไร
       สุดท้ายหลายคนคงจะมีคำถามว่า แล้วเหล็กชนิดไหนละที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ดีที่สุด คำตอบก็คือว่า ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและลักษณะการใช้งานว่ามีดรับภาระการใช้งานแบบไหน” ลองพิจารณากันดูครับ
ที่มา : http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.phpt4768.htmlhttp://www.cutleryscience.com/articles/edg...ity_review.html

การเชื่อมซ่อม (welding repair) ตอนจบ

         จากความเดิมตอนที่แล้ว เรื่องการเชื่อมซ่อม ก็ได้กล่าวมาแล้ว 1 หัวข้อนั้นก็คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหาย ตอนต่อจากนี้ไปจะขอกล่าวส่วนของเนื้อหาหัวข้อที่ 2-4 คือ การประเมิลและคาดคะเนข้อมูล, การกำหนดกรรมวิธีการเชื่อมซ่อม และ วิธีการปฏิบัติการเชื่อมซ่อม ตามลำดับ
ดังนี้
 หัวข้อที่ 2 ประเมิลและทำการคาดคะเนข้อมูล
      เมื่อได้ทำการจัดหารวบรวมข้อมูลมาแล้ว ขั้นตอนที่ 2 เป็นการคาดคะเนหรือประมาณการความสามารถในการใช้งาน โดยการใช้วิธีการคาดคะเน 3 แบบที่สามารถกระทำได้
การพิจารณาที่ 1
-         การเชื่อมซ่อมโดยไม่มีข้อจำกัดทางวิชาการ
การพิจารณาที่ 2
-         การเชื่อมซ่อมโดยมีข้อจำกัดทางวิชาการ
การพิจารณาที่ 3
-         ไม่มีการเชื่อมซ่อม



หัวข้อที่ 3 การกำหนดเทคโนโลยีการเชื่อม
      การกำหนดเทคโนโลยีการเชื่อมเป็นตัวนำไปสู่แผ่นการเชื่อมซ่อม ซึ่งจะบรรลุเทคนิคที่จำเป็นทั้งหมดและข้อปลีกย่อยต่างๆ ทางเทคโนโลยีสำหรัขั้นตอนการทำงานต่อไป
ข้อแนะนำสำหรับงานเชื่อมซ่อมที่มีความสำคัญและยุ่งยาก คือให้ การทำแผนการเชื่อมเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนการปฏิบัติการเชื่อม เนื่องจากมีสาเหตุดังนี้
-         ป้องกันการเข้าใจผิด และข้อผิดพลาดในการถ่ายทอดงาน
-         เป็นส่วนสำคัญของเอกสารหลักฐาน ของการแก้ไขกรณีเกิดความผิดพลาด
เป็นเอกสารหลักฐานยืนยันการทำงานเมื่อเกิดการทิ้งงานขึ้น
 หัวข้อที่ 4 การปฏิบัติการเชื่อมซ่อม
      ในการเชื่อมซ่อมต้องใช้ทั้งช่างเชื่อมและผู้ควบคุมดูแลการเชื่อม ช่างเชื่อมต้องทำการเชื่อมให้ตรงตามแผนการเชื่อมซ่อมที่กำหนดไว้ หากช่างเชื่อมต้องการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับดูแลการเชื่อมเสียก่อน
     ผู้กำกับดูแลการเชื่อมมีหน้าที่คอยกำกับดูแลให้ช่างเชื่อมผู้ปฏิบัติการ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการเชื่อมหรือตามมาตรการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการเชื่อม และต้องคอยดูแลให้ผู้ทำหน้าที่การเชื่อม มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (DIN EN 287-1 การสอบช่างเชื่อม ; การหลอมละลาย ภาค 1 : เหล็กต่าง ; ภาค 2 : อลูมิเนียมและอลูมิเนียมผสม)
การตรวจสอบสอบกรรมวิธีการทำการเชื่อม
      เมื่อมีการทำการเชื่อมซ่อมสำหรับบุคคลที่สาม และได้รับการเรียกร้องกรรมวิธีการเชื่อมที่เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้สั่งจ้าง จะต้องมีข้อพิสูจน์ยืนยันกรรมวิธีตาม DIN EN 288-ข้อเรียกร้องและการยอมรับของกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับวัสดุประเภทโละ
DIN EN 288 ภาค 1 : กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการเชื่อมหลอมละลาย
                  ภาค 2 : แนวทางการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟฟ้า
                  ภาค 3 : การตรวจสอบกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คของเหล็ก
                  ภาค 4 : การตรวจสอบกรรมวิธีการเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟของ
                              อลูมิเนียมและอัลลอย
DIN EN 288 ภาค 3 ได้กำหนดว่าอย่างไร แนวทางการเชื่อมจึงจะได้รับการยอมรับตามการตรวจสอบกรรมวิธี ได้อธิบายเงื่อนไขการปฏิบัติการของการตรวจสอบการวิธีและขอบเขตของการใช้ได้ของกรรมวิธีการเชื่อมที่ได้รับการยอมรับ
การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (NDT)
    เพื่อให้ชิ้นส่วนที่ผ่านการเชื่อมซ่อม มีความสามารถในการใช้งานตามที่เรียกร้อง ต้องมีการตรวจสอบสอบและยืนยันจากการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (NDT) ในกรอบของการประกันคุณภาพ ซึ่งกรรมวิธี NDT นี้เป็นกรรมวิธีที่ใช้ในเทคนิคการเชื่อมทั่วๆ ไปเป็นเครื่องช่วยบอถึงความปลอดภัยของชิ้นส่วนที่ผ่านการเชื่อมซ่อมในเรื่องคุณภาพของการเชื่อมประสาน
โดยมีข้อพิจารณาดังนี้ เช่น การนูนของแนวเชื่อม การเว้าต่ำของแนวเชื่อม การเกิดร่อยไหม้ แนวรากบกพร่อง และอื่นๆ ใช้การตรวจสอบด้วยสายตา ส่วนข้อบกพร่องที่ถูกปิดบังหรืออยู่ภายใน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ใช้การตรวจสอบด้วยการฉายรังสี หรือตรวจสอบคลื่นเสียงอุลตร้าโซนิก ซึ่งสามารถกำหนดตำแหน่งและขนาดได้ 
         ส่วนกรรมวิธีการตรวจสอบผิวแบบไม่ทำลายที่ใช้กันอยู่มี 2 วิธีคือ การใช้สารแทรกซึมและการใช้ผงแม่เหล็ก โดยกรรมวิธีการทั้งสองมีข้อแตกต่างในการใช้งานอยู่บ้าง ซึ่งแบบใช้ผงแม่เหล็ก กระทำได้เฉพาะวัสดุที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้เท่านั้น แต่เป็นกรรมวิธีการตรวจสอบที่สามารถเห็นข้อบกพร่องบริเวณใต้ผิวที่ไม่ลึกมากได้
        กรรมวิธีการตรวจสอบทั้งสองสามารถตรวจหารอยร้าว และข้อบกพร่องในการประสานตัวที่เกิดจากการเจียรนัยที่ผิวได้ด้วย
เทคนิคพิเศษในการเชื่อมพอกผิว
     การเชื่อมพอกบริเวณเกิดเป็นหลุมหรือแอ่ง
      ลำดับชั้นการเชื่อมและลำดับการเชื่อมในการเชื่อมเติมเนื้อแอ่งให้เต็มหลังการเจียรนัยส่วนที่เป็นรอยร้าวออกแล้ว ทำเหมือนการเชื่อมประสานทั่วไป มุมเปิดของแอ่งควรประมาณ 15 องศา มุมลาดช่วงสิ้นสุดแนวประมาณ 45 องศา รัศมีของมุมโค้งของแอ่งประมาณ 5 มม.
การเชื่อมพอกพื้นผิวกว้าง
    เมื่อต้องทำการเชื่อมพอกผิวขนาดกว้าง ขอแนะนำให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นตารางสีเหลี่ยมจัตุรัส โดยมีความยาวด้านของเขตที่แบ่งประมาณความยาวที่ได้จากการหลอมละลายของลวดเชื่อม เมื่อต้องการทำการเชื่อมพอกหลายชั้น ต้องเบี่ยงแนวเชื่อมที่พอกทับโดยจุดเริ่มต้นแนวและจุดสิ้นสุดแนวไม่ซ้อนกันในแนวระนาบเดียวกัน

              การเชื่อมพอกชิ้นส่วนทรงกระบอก
    ในการเชื่อมพอกที่ชิ้นส่วนทรงกระบอกขึ้นอยู่กับลำดับการเชื่อมว่ามีผลทำให้เกิดการแอ่นตัวในภายหลังหรือไม่ การเชื่อมพอกแบบเป็นเกลียวรอบชิ้นงานเพราะใช้การกระจายตัวของความเค้นได้

เอกสารอ้างอิง
DIN EN 287 T.1 การทดสอบช่างเชื่อมเหล็ก
DIN EN 287 T.2 การสอบช่างเชื่อมอะลูมิเนียม
DIN EN 288 T.1 กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการเชื่อมหลอมละลาย
DIN EN 288 T.2 ระเบียบแนวทางการเชื่อมอาร์คไฟฟ้า
DIN EN 288 T.3 การตรวจสอบสอบกรรมวิธีเชื่อมสำหรับการเชื่อมอาร์คไฟฟ้าเหล็กต่างๆ

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมซ่อม (welding repair) ตอนที่ 2

ความเดิมตอนที่แล้ว เรื่องการเชื่อมซ่อม เริ่มหัวข้อที่ 1 

หัวข้อที่ 1. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหาย หรือ เกิดการสึกหรอ
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหายหรือเกิดการสึกหรอ พิจารณาลำดับความสำคัญตาม flow chart
  ข้อเด่นของ flow chart นี้ก็คือลำดับขั้นตอนและเนื้อหาภายในเหมือนกันไม่ขึ้นอยู่กับส่วนที่เสียหายหรือสึกหรอ ข้อเด่นต่อไปก็คือ เป็นการทำแบบเป็นระบบสามารถกระทำการเช็คภายใต้เวลาที่จำกัดได้โดยไม่เกิดการลืมการมองข้ามบางจุดไป  
ทำไมการรวบรวมข้อมูลจึงมีความสำคัญนัก ?
-         ขนาดน้ำหนักและรูปร่างของชิ้นส่วนที่ทำการเชื่อมซ่อมมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับการปฏิบัติการ
-         ชิ้นส่วนสามารถพลิกหรือหมุนในการเตรียมการหรือระหว่างการทำงานเชื่อมซ่อมได้หรือไม่ ?
-         หากไม่สามารถพลิกชิ้นส่วนได้การเข้าถึงจุดเสียหายหรือเขตการสึกหรอกระทำได้อย่างไร ?
-         จะต้องทำการให้ความร้อนนำ (pre heat) แก่ชิ้นส่วนบางส่วนหรือต้องให้ความร้อนนำทั้งชิ้นหรือไม่อย่างไร ?
-         จะทำการให้ความร้อนภายหลัง (post heat) ในกรณีที่จำเป็นจำทำอย่างไร ?
-         การตรวจสอบชิ้นงานแบบไม่ทำลาย (NDT) ของแนวเชื่อมซ่อมกระทำได้หรือไม่อย่างไร ?
      ขนาดและรูปร่างในเขตที่เกิดการเสียหายสามารถที่จะไล่ย้อนหลังดูสภาพการเกิดความเค้นตกค้างที่อาจมีส่วนในการเกิดความเสียหายของชิ้นส่วนได้ โดยอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสาเหตุการเสียหายเช่น การรับความเค้นแกนเดียวของชิ้นงานรูปแท่งเหล็กยาว การรับความเค้นสองแกนของชิ้นส่วนแผ่นบางและการรับความเค้นสามแกนของชิ้นส่วนที่หนา จนถึงจุดที่เริ่มเกิดความเสียหาย
คำถามเกี่ยวกับการรับภาระของชิ้นส่วนว่าที่ผ่านมาชิ้นงาน
-         รับภาระแบบคงที่
-         รับภาระแบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น vary หรือ alternating
       เป็นคำถามที่มีความหมายสำหรับการเชื่อมซ่อมเช่นเดียวกัน รวมทั้งควรถามสภาพการรับภาระแบบกระแทก (impact) ความดัน และอุณหภูมิ ก็ควรสอบถามไว้ด้วยข้อมูลที่กี่ยวกับประเภทการเสียหายช่วยในการค้นหาสาเหตุของการเกิดความเสียหายข้อบกพร่องหรือผิดพลาดมรการคำนวณ (ขนาดชิ้นส่วน) การเลือกวัสดุ การออกแบบและการจัดสร้างสามารถเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดความเค้นเกิดค่าอนุญาตที่ชิ้นส่วนรอยร้าวและการแตกทำลาย ก็สามารถเกิดได้จากความล้าตัวของวัสดุหรือการเปลี่ยนสภาพตามเวลา (aging) ได้เช่นเดียวกัน และในการตรวจสอบชิ้นส่วนด้วยการดู ก็สามารถรู้สาเหตุของการเสียหายของชิ้นส่วนจากลักษณะเฉพาะ (characteristic) ของประเภทการเสียหายได้
ประเภทของความเสียหายของชิ้นส่วน
การร้าวเป็นเขตการแยกตัวของวัสดุที่ส่วนใหญ่เกิดจากการยืดตัว 2 มิติ และจากรัศมีร่องที่เล็กๆ เป็นความบกพร่องประเภทที่อันตรายที่สุดและเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดของการเกิดการเสียหาย รอยร้าวเป็นตัวเริ่มก่อเกิดการแตกหักเสียหาย โดยเกิดเมื่อเงื่อนไขการรับภาระและด้านวัสดุถึงจุดวิกฤต
ข้อมูลการแตกร้าวแบบร้อนขณะทำการเชื่อมซ่อม
  
                 จะมีอยู่ 2 ลักษณะ
1.     การแตกร้าวจากการเย็นตัวของบ่อหลอมละลาย
2.  การแตกร้าวจากการเย็นตัวของบ่อหลอมละลายซ้ำ
      การแตกร้าวจากการเย็นตัวของบ่อหลอมละลายจะเกิดในช่วง 2 เฟส จากของเหลวไปสู้ของแข็งของน้ำเหล็ก (อุณหภูมิสำหรับเหล็กประมาณ 1200 0C) รอยร้าวเกิดตามขอบเกรน (Intergranular) รอยร้าวเกิดกับงานที่ประสานกันด้วยการเชื่อม ส่วนใหญ่ในแนวเชื่อมตามทางยาวการร้าวจากการหลอมตัวช้ำๆ เกิดขึ้นในการเชื่อมหลายชั้นเป็นแบบตามแนวเขตเกรนเช่นเดียวกัน บริเวณที่เกิดการร้าวจะแสดงสีของแนวริ่งและรอยไหม้
     การร้าวเนื่องจากการแข็งตัวและการร้าวเนื่องจากการหลอมละลายซ้ำๆ เป็นผลมาจากผิวฟิล์มบริเวณเขตเกรนที่มีอุณหภูมิการหลอมตัวต่ำ (สารมลทิน) ในลักษณะการเชื่อมโยงกับความแตกต่างการแข็งตัวตามเวลาของเกรนและเขตเกรนตลอดจนความเค้นภายใน (ความเค้นจากการหดตัว)
ข้อมูลการแตกร้าวแบบเย็นขณะทำการเชื่อมซ่อม

ประเภทการแตกร้าวแบบเย็น
1.     การแตกร้าวเนื่องจากความแข็ง
2.     การแตกร้าวในแนวเชื่อม
3.     การแตกร้าวแบบแยกชั้น
       ประเภทการร้าวเย็นที่รู้จักกันคือ การแตกร้าวเพราะความแข็ง การแตกร้าวภายใต้แนวเชื่อม และการแตกร้าวแบบแยกชั้น การแตกร้าวเนื่องจากความแข็งเป็นแบบผ่าเกรน (Transgranular) หรือแบบตามแนวเขตเกรน (Intergranular) เป็นแนวริ่งไปตามการหลอมละลายการแตกร้าวเย็นเป็นผลมาจาก การลดลงของคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในวัสดุชิ้นงาน พร้อมกับความเค้นภายในเนื่องจากการหดตัว
 
 
ตัวอย่างแนวการแตกร้าว
1.   (Intergranular) การแตกร้าวตามขอบเกรน
2.   (Transgranular) การแตกผ่าเกรน
ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการแตกหัก
การแตกหักโดยฉับพลัน
     การแตกหักโดยฉับพลันเป็นการแตกร้าวที่มีความเร็วในการขยายตัวของการแตกร้าว ด้วยความเร็วสูงแบ่งแยกเป็น การแตกหักจากการเปลี่ยนรูป (ductile fracture) และการแตกหักจากการแยกตัว (brittle fracture)
     การแตกหักจากการเปลี่ยนรูปหรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ductile fracture เกิดจากการเปลี่ยนรูปในเขตพลาสติกที่มองเห็นได้ ผิวรอยแตกมองเห็นเป็นผิวเรียบและเป็นเส้นๆ การแตกหักเพราะการเปลี่ยนรูปเป็นผลมาจากการรับภาระเฉ

สาเหตุสำคัญ 2 ประการของการแตกหักเสียหาย คือ
        สาเหตุแรก คือ การเปราะเฉพาะจุดในวัสดุชิ้นงานซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของไฮโดรเจนโครงสร้างแข็งบริเวณ HAZ การเกิดสภาวะความเค้นหลายแกนและที่อุณหภูมิต่ำมาก
       ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง คือ การสูญเสียความเหนียวตามช่วงระยะเวลาในวัสดุชิ้นงาน (การล้าตัวโดยธรรมชาติ, การเสื่อมสภาพตามอายุ) ซึ่งเป็นผลของส่วนประกอบทางเคมี, การฟอร์มรูปเย็นความเค้นภายใน และการรับภาระงาน
ข้อมูลการแตกหักเนื่องจากการสั่นสะเทือน (vibration fracture)
     การแตกหักเนื่องจากการสั้นสะเทือนเกิดได้อย่างไร ?
     เริ่มต้นเกิดจากการร้าวนำแล้วขยายตัวออกไป จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับแรงที่กระทำและสภาวะการรับแรง จนถึงขั้นสุดท้ายเกิดการแตกหักแบบฉับพลันของเนื้อที่หน้าตัดที่ยังเหลืออยู่ เมื่อพื้นที่รับภาระเลยจุดวิกฤติอันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดน้อยลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป
     เมื่อจำนวนการสับเปลี่ยนภาระเกิน 100,000 เราเรียกการแตกหักเพราะสั่นสะเทือนนี้ว่า การล้าตัว (fatigue)” ผิวรอยแตกมีสภาพลื่นเรียบและมีลักษณะเป็นวงแบบเปลือกหอย มีเส้นแบ่งแนวชั้นหลายเส้นซึ่งมักตั้งฉากกับแนวทิศทางการรับภาระ เมื่อจำนวนการสับเปลี่ยนภาระต่ำกว่า 100,000 เรียกว่า “time fracture” มีรอยแตกตรงกันข้ามกับการล้าตัวโดยมีผิวหยาบและมีเส้นแนวชั้นน้อยกว่าพาะจุ
ข้อมูลการเสียหายจากการกัดกร่อน (corrosion)
     การผุกกร่อนเป็นการถูกทำลายเฉพาะจุดที่เกิดที่ผิวหน้าชิ้นงาน จากการจู่โจมทางเคมีโดยไม่มีส่วนรับภาระทางกลศาสตร์ แบ่งเป็น การกัดกร่อนโพรง แบ่งเป็น การกัดกร่อนโพรง เกรนสลาย การร้าวจากความเค้นและการร้าวจากการสั่นสะเทือน
-         การกัดกร่อนเป็นโพรง (pitting corrosion)
     การกัดเป็นโพรงเป็นการจู่โจมทางเคมีที่ขยายขนาดอย่างรวดเร็วซึ่งเน้นกระทำเฉพาะเขตของวัสดุชิ้นงานและในจำนวนที่จำกัดการทำลายของผิวเกิดจากการจู่โจมของสารเคมีในลักษณะเป็นรอยเหมือนปลายเข็มจิ้มหรือเป็นหลุมเป็นแอ่ง การกัดเป็นโพรงนี้เมื่อเป็นไปอย่างต่อเนื่องก็สามารถนำไปสู่การเจาะทะลุทำให้เกิดการรั่ว สาเหตุการเกิดการกัดเป็นโพรงเกิดจากการถูกทำลายเฉพาะจุดของผิวพาสซีฟฟิล์มของเหล็ก stainless และเหล็กทนกรด จากการกัดกร่อนของคลอรีนหรือบโรไมด (bromide)
-         การสลายเกรน (grain failure)
การสลายเกรนหรือเรียกอีกอย่างว่า intercrystallive corrosion เป็นการจู่โจมทางเคมีเฉพาะจุดภายในหรือตามแนวเขตเกรน การขยายจู่โจมเกิดมาจากจุดเริ่มของแต่ละเกรนจนถึงการสลายของหมู่เกรนอย่างสิ้นเชิง รอยผิวที่ถูกจู่โจมมีลักษณะผิวหยาบแบบถูกกรดกัด (etched) จนถึงเป็นรอยแยกตัว สาเหตุของการสลายเกรนเกิดจากการรวมตัวของคาร์ไบด์ ช่วงอุณหภูมิ 450 0C – 850 0C และมักเกิดบริเวณข้างๆ แนวเชื่อมของเหล็ก stainless ทำให้บริเวณเขตดังกล่าวมีปริมาณโครเมียมน้อยกว่าปกติ ส่งผลทำให้ความต้านทานเคมีต่ำลง
-         การกัดกร่อนแบบการร้าวเพราะความเค้น (stress-crack-corrosion)
การกัดกร่อนแบบการร้าวเพราะความเค้นส่วนใหญ่เริ่มเกิดจากร่องครีบขนาดเล็กๆ การก่อตัวของการร้าวเป็นแบบผ่าเกรนหรือแนวขอบเกรนในแนวขวางกับทิศทางการรับภาระ เงื่อนไขสำหรับการเกิดการกัดกร่อนประเภทนี้ เป็นผลมาจากการแฟคเตอร์ต่างๆ ที่ผสมผสานกันดังนี้
1.     เกิดความเค้นแรงดึงที่ชิ้นส่วนถึงจุด
2.     มีสารเคมีที่มีผลการกัดกร่อน
3.     วัสดุพื้นฐาน หรือ ชิ้นส่วน อ่อนแอ
-         การกัดกร่อนแบบการร้าวจากการสั่นสะเทือน (vibration – crack – corrosion)
การกัดกร่อนแบบร้าวเพราะการสั่นสะเทือนเป็นการร้าวแบบผ่าเกรน (trans -rystallive) เหล็กที่ไม่มีผิวพาสซีฟฟิล์ม (เหล็กไม่ผสมหรือผสมต่ำเกิดน้อย) การร้าวมักเกิดหลุมที่เกิดจากการกัดกร่อน (dimple) สาเหตุของการเกิดการร้าวแบบนี้มาจากการผสมผสานของการรับแรงดึงแบบเปลี่ยนทิศทางไปมา และมีสารเคมีมากกระทำการจู่โจมด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของการสึกหรอ
     การสึกหรอทุกประเภทมีลักษณะแสดงออกที่เฉพาะอย่างซึ่งสามารถเห็นด้วยตาหรือตรวจสอบด้วยตาได้ การสึกหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผิวหน้าของชิ้นส่วน ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา โดยเกิดจากการรับภาระทางกลศาสตร์ที่ทำให้เกิดการแยกตัวหรือหลดตัวของอนุภาควัสดุเฉพาะจุด
การเกิดการสึกกร่อน (erosion) และคาร์วิเตชั่น (cavitation) จัดเป็นประเภทของการสึกหรอ ด้วยเช่นกัน การสึกกร่อน (erosion) เป็นการชะล้างจนหลุดตัวออกและการถูกทำให้ฉีกตัวออกของอนุภาคเล็กๆ ของวัสดุชิ้นงานด้วยน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดรูโพรงที่ชิ้นส่วน คาร์วิเตชั่น (cavitation) เป็นการก่อตัวโพรงว่างที่มีไอน้ำสะสมอยู่ภายใน การเกิดขึ้นอยู่กับลักษณะการไหลของของเหลว ถ้าความดันลดลงต่ำกว่าความดันอิ่มตัว ทำให้อนุภาคของวัสดุหลุดตัวออกไปจากผิวหน้า      
ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทวัสดุของชิ้นส่วนที่เสียหาย
คำถามอันดับแรก คือ ชิ้นส่วนที่เสียหายนี้ทำมาจากวัสดุประเภทใด ?
      เมื่อข้อมูลเรื่องวัสดุที่ได้จากการสอบถามไม่มีความแน่นอนเพียงพอจำเป็นต้องทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมี ซึ่งค่าที่ได้จากวิเคราะห์นี้จะช่วยกำหนด  กรุ๊ฟของวัสดุ ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบหากรุ๊ฟของเหล็กว่าเป็นกรุ๊ฟ เหล็กไม่ผสม, เหล็กผสมต่ำ, หรือเหล็กผสมสูง เป็นต้น ซึ่งผลของการตรวจสอบจะช่วยให้สามารถคาดคะเนคุณสมบัติด้านความเหมาะสมของการเชื่อมได้ และนำไปสู่การพิจารณาเลือกกรรมวิธีในการซ่อมในลำดับต่อไปได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย