วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การตัดเปลี่ยนวาล์ว (Replace Valves in line)

ขั้นตอนในการกระกอบติดตั้ง valve ที่ใช้งานกับ HP. Steam
1.1       ที่เขียนนี้จะเป็นตัวอย่างในการประกอบติดตั้ง valve สำหรับ HP. Steam ชนิดปลายสวมเชื่อม (socket weld end) วัสดุทำจาก F22
1.2             งานเตรียมท่อ (pipe preparation) ท่อที่จะเชื่อมต่อกับวาล์ว จะต้องตัดและทำปลายให้ตั้งฉากกับแนวท่อ ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการประกอบติดตั้ง
1.3             งานเตรียมวาล์ว (valve preparation)
-         เปิดวาล์ว ประมาณ ¾ ให้ disc ห่างจาก seat เอาไว้ เพื่อป้องกันการอาร์คระหว่าง disc และ seat ในกรณีที่ลวดเชื่อมพลาดไปโดน handwheel หรือ stem
-         การประกอบวาล์ว ให้ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนทำการเชื่อมก่อนว่า ตรงกับทิศทางการไหลของ steam หรือไม่
-         ให้ตรวจดูที่ name plate วาล์ว ก่อนว่าตรงกับความดันและอุณหภูมิที่ต้องการหรือไม่
1.4             งานเชื่อม (welding procedure)
-         ประกอบวาล์ว กับ ท่อ (กำหนด WPS ให้ชักเจน)
-         ทำการ preheat (ให้ความร้อนก่อนเชื่อม) ประมาณ 232 0C โดยตรวจสอบด้วยชอล์ควัดความร้อน หรือเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ
-         ตลอดการเชื่อม ต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิที่ preheat เอาไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 232 0C และไม่สูงเกินกว่า 315 0C
-         ใช้ลวดเชื่อมที่อบแล้วตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต ยกตัวอย่าง AWS E-9018-B3
-         ทำ postheat (ให้ความร้อนหลังเชื่อม) ถ้าวาล์วขนาดต่ำกว่า 3 นิ้ว ไม่จำเป็นต้อง post heating แต่ถ้าวาล์วมีขนาดโตกว่า 3 นิ้วขึ้นไปจำเป็นต้องทำ stress relieving, post heating โดยอย่าลืมเอา packing ออกเสียก่อน มิฉะนั้น packing อาจจะไหม้ได้
1.5             ขั้นตอนการทำ post heating
-         ให้ความร้อนขึ้นไป 732  0C ด้วย induction heater (ขดลวดความร้อนใช้ไฟฟ้า) เป็นการให้ความร้อนกระจายแทรกไปอย่างทั่วถึง ควรดูคู่มือประกอบการใช้ induction heater ด้วย
-         คงความร้อนไว้ที่ 732  0C นาน 1 ชั่วโมง ต่อความโต 1 นิ้วของวาล์ว นั้นหมายความว่าถ้าวาล์วขนาด 4 นิ้ว ก็คงความร้อนไว้ 4 ชั่วโมง
-         เมื่อได้เวลาตามกำหนดแล้วก็ ค่อยๆ ลดความร้อนลงมาชั่วโมงละ  37.7 0C จนถึงอุณหภูมิปกติ 
ข้อควรระวัง :  การทำ post heating บริเวณแนวเชื่อมที่อุณหภูมิสูงและนานเกินกำหนด จะสงผลต่อโครงสร้างจุลภาคของเนื้อเหล็ก ซึ่งทำให้คุณสมบัติของเหล็กเปลี่ยนแปลงไป เช่น ความแข็งแรงลดลง, เกิดการฟอร์มคาร์ไบด์, ความต้านทานการกัดกร่อนลดลง, หรือเกรนโตผิดปกติ เป็นต้น และในทางกลับกัน ถ้าทำ post heating ที่อุณหภูมิและเวลาไม่ได้ตามกำหนดก็จะส่งผลทำให้ stress ยังหลงเหลือและตกค้างอยู่ก่อให้เกิดการแตกร้าวได้ในภายหลังจากการใช้งานได้ ***หากเกิดความผิดพลาดดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้โดย replica test    (การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคบริเวณผิวโดยไม่ต้องตัดชิ้นงาน)***



วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เกทวาล์ว (Gate valve)

1.     ข้อมูลทั่วไป
Gate valve ทุกตัวออกแบบมาเพื่อเป็นวาล์ว ตัดตอน (isolating valve)

1.1             ชนิดของเกทวาล์ว การใช้งานจะมีเพียงเปิดสุด หรือปิดสุดเท่านั้น มี 4 ชนิด
1.1.1      โซลิค เวจ เกทวาล์ว (solid wedge gate valve)
1.1.2      พาราเลล สไลด์ เกทวาล์ว (parallel slide gate valve)
1.1.3      เฟลกซิเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (flexible wedge gate valve)
1.1.4      ดับเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (double wedge gate valve)
1.1.5      โซลิด เวจ เกทวาล์ว (solid wedge gate valve) ซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่ม (wedge) มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบดังนี้
ข้อได้เปรียบ (advantanges) คือ
-         ออกแบบไว้อย่างแข็งแรง
-         มี back seat (เวลาเปิดสุดจึงเป็นสุด packing ก็ยังไม่ได้รับความดัน)
-         ลักษณะการไหลไม่ไหลพล่าน
-         การไหลผ่านในขณะเปิดสุด จึงเป็นการไหลเต็มที่ (full flow)
ข้อเสียเปรียบ (disadvantages)
-         ขัดตัวง่าย (เพราะลักษณะลิ่ม)
-         ปรับแต่งบดหน้าสัมผัส disc & seat ยาก
-         ในกรณีที่ใช้กับท่อขนาดยิ่งเล็ก ยิ่งขัดตัวง่ายขึ้นไปอีก
วัสดุที่ใช้ทำ solid wedge gate valve (ชนิดลิ่มแข็ง)
กรณีที่ใช้งานที่มีความดันและอุณหภูมิต่ำ (low pressure and low temperature)
ส่วนใหญ่เป็นทองเหลือง brass (ทองแดงผสมสังกะสี) ในกรณีใช้งานทนกรด seat อาจเป็น เทฟล่อน (Teflon)
กรณีที่ใช้งานที่มีความดันและอุณหภูมิสูง (high pressure and high temperature)
ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็ก steel หรือ เหล็กผสมพิเศษ molybdenum steel F11 และ moly-chrom F22 disc & seat มักจะเป็น satellite และเมื่อใช้งานที่ต้องการทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีมักใช้ stainless steel
1.1.2    พาราเลล สไลด์ เกทวาล์ว (parallel slide gate valve)
มีลักษณะ disc และ seat ทั้ง 2 ข้างขนานกัน ซึ่งมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบดังนี้
ข้อได้เปรียบ (advantages)
-         เปิด-ปิด ง่าย
-         เหมาะสำหรับงานความดันสูงๆ
ข้อเสียเปรียบ (disadvantages)
-         โดยทั่วไปออกแบบไม่มี back seat ทำให้ packing รับความดันตลอดเวลาทำให้รั่วที่บริเวณก้าน valve กับ packing ได้ง่าย
      ลักษณะที่เป็นคุณสมบัติประจำตัวอีกอันหนึ่ง (ซึ่งไม่ดีนัก) คือ เวลาปิดวาล์ว หน้าสัมผัสจะปิดสนิทเพียงด้านเดียว คือด้านที่ไม่ได้รับแรงจากของไหลโดยตรง หรืออธิบายได้อีกอย่างว่า แรงจากของไหลจะมาดันหน้าวาล์วด้านแรก ทำให้หน้าสัมผัสอีกด้านที่ขนานกันอยู่ปิดสนิท แต่ด้านแรกจะยังคงเปิดอยู่เล็กน้อย เหตุนี้เองไม่ว่าจะปิดหรือเปิดวาล์วอยู่ก็ตาม packing ก้านวาล์วจะรับความดันของของไหลตลอดเวลา
     ในการใช้งานที่มีความดันสูงๆ ไม่สามารถให้ packing รับความดันได้ตลอดเวลา จึงมีการออกแบบวาล์วใหม่ ให้สามารถ seal ด้านรับแรงจากของไหลได้ โดยเพิ่ม spring เข้าไประหว่าง disc ทั้ง 2 อันถ่างออกเพื่อช่วยลดแรงจากของไหลด้าน disc อันแรก
วัสดุที่ใช้ทำ parallel slide gate valve
-         โดยทั่วไปใช้เหล็ก steel ทำทั้ง body, seat และ disc สำหรับงาน high pressure – high temperature
-         ในงานที่มีความดันสูงมากๆ  (very high pressure) มักมีการเชื่อมพอกหน้า disc และ seat ให้แข็งด้วยลวดพอกแข็ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน
-         ทองเหลือง (brass) ใช้งานพวกอุณหภูมิและความดันต่ำๆ
1.1.3 เฟลกซิเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (flexible wedge gate valve)
ข้อแตกต่างระหว่างวาล์วชนิดนี้กับ solid wedge gate valve ในข้อ 1.1.1 คือระหว่างก้านวาล์ว และตัว disc ไม่ต่อเนื่องกันเป็นชิ้นแข็ง แต่จะให้ตัวได้หรือหลวมเล็กน้อย เพื่อให้ disc ขยับตัวได้นั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ปิดได้ แน่นยิ่งขึ้น และยังลดความฝืดหรือขัดตัวขณะเปิดได้อีกด้วย
วัสดุที่ใช้ทำ Flexible wedge gate valve
เหมือนกับที่ใช้ทำ solid wedge gate valve
1.1.4    ดับเบอล์ เวจ เกทวาล์ว (double wedge gate valve)
มีลักษณะเป็นแผ่น disc อิสระ 2 แผ่น ตรงกลางลงมาต่อกันด้วย ball joint ลักษณะดังกล่าวทำให้ disc ทั้ง 2 แผ่น ทำหน้าที่ seal ได้ดีขึ้น เวลาอัดปิดรอบสุดท้าย ball joint จะไปบังคับให้ถ่าง disc ออกจากกัน และ disc แต่ละตัวจะ seal อย่างอิสระแต่ละข้าง seat
ข้อควรจำ
-         gate valve ไม่มีทิศทางการไหลที่แน่นอนเหมือน globe valve ฉะนั้นการติดตั้งจะ ติดตั้งอย่างไรไรก็ได้ ด้านไหนเข้า ด้านไหนออกก็ได้
-         ห้ามเปลี่ยน packing ขณะเดินเครื่องเด็ดขาด (เฉพาะ gate valve)
-         แรงดันของของไหลที่ packing gate valve ชนิดต่างๆ เขียนให้เป็นตารางดังนี้
2. การตรวจสอบ เกทวาล์ว (inspection of a gate valve)
2.1 ตรวจสอบสภาพภายนอกดูความเสียหานที่ body, bonnet, yoke, handwheel เกลียวก้านวาล์ว, power nut
2.2 ตรวจสอบว่ามีของไหลหรือไอรั่วที่ packing หรือไม่
ข้อควรระวังคือ valve packing ของ gate valve ประเภท parallel slide จะรับแรงดันอยู่ตลอดเวลา ส่วน gate valve ชนิดอื่นๆ packing จะรับแรงอัดความดันเฉพาะเมื่อหน้า disc ฝั่งที่รับความดันจากของไหลรั่ว หรือ วาล์ว ออกแบบไม่มี back seat
2.3 การตรวจสอบภายในตัววาล์ว ถ้าสงสัยวาล์วจะรั่วให้ถอด bolt ยึด bonnet กับ body ออก แล้วยกชุด bonnet-stem-disc ออกมาจากตัว body หากตรวจสอบหน้า disc & seat แล้ว มีความเสียหายต่อซ่อม จึงถอด bonnet ออกจาก stem และ disc ถอด disc ออกจาก stem เพื่อนำมาบดหน้าสัมผัสใหม่โดยอาศัยกฎเกณฑ์เดียวกับ globe valve คือ ถ้าลึกเกินกว่า 0.015 นิ้ว หรือประมาณ 0.4 มิลลิเมตร wire drawing ซ่อมไม่คุ้มค่า
2.4 ทำความสะอาดทุกชิ้นส่วน
2.5 gate valve บางชนิดถอด seat ออกมาบดหน้าสัมผัส (lapping) ได้แต่โดยทั่วไปมักซ่อมกับที่
2.6 ในการถอด gate valve ชนิด parallel slide มักมีการยึด stem ให้ติดกับ disc โดยใช้ key ตัวนี้ออกด้วยและประกอบกลับที่เดิม เมื่อประกอบ
2.7 จดขบวนการถอดไว้ทุกขั้นตอน จะได้เอาไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อประกอบเป็นการหลักเลี่ยงการทำงานที่ผิดพลาด
2.8 บันทึกข้อมูล และเขียนรายงานทุกอย่างที่ทำไป
3. การซ่อม เกทวาล์ว (Repair gate valve)
3.1 การซ่อม gate valve โดยทั่วไปเหมือนการซ่อม globe valve
3.2 การบดหน้าสัมผัส disc และ seat ต้องใช้เครื่องมือบดวาล์วชนิดบดแบบขนาน (parallel laps) หรือบดแบบแผ่นราบ (flat laps) การบดหน้าสัมผัส (lapping) จะคุ้มค่าต่อเมื่อความลึก wire drawing ไม่เกิน 0.015 นิ้ว หรือประมาณ 0.4 มิลลิเมตร
3.3 เอา disc ออกจาก stem ล้างทำความสะอาดโดยใช้ ไตรโคลรีเทน (trychlorethane) หรือ น้ำยาทำความสะอาดที่สามารถกัดคราบไคลได้ดี
3.4 ทาตัวยาบด valve (lapping compound) ชนิดหยาบ (coarse) บนแผ่นบด valve ให้สม่ำเสมอและทา เพียงบางๆ วาง disc ลงบนแผ่นบด โยก disc หมุนเป็นรูปเลข 8 บดให้เป็นวงกว้าง และพยายามหมุน disc เป็นครั้งคราวจะทำให้หน้าสัมผัสเรียบเร็วขึ้น
3.5 เมื่อบดจนรอยใหญ่ๆ ลึกๆ บนหน้า disc หายไปแล้วให้เอาตัวยาบด valve ที่ disc และแผ่นบดออกโดยใช้น้ำยาทำความสะอาด trychlorethane ล้างออก เสร็จแล้วใช้ lapping compound ชนิดละเอียดปานกลาง (medium) บดลักษณะเดียวกับการบดในข้อ
3.6 คือเป็นเลข 8 บดให้เป็นวงกว้างและหมุน disc รอบตัวเป็นครั้งคราวจนรอยบนหน้า disc เหลือน้อยมากแล้ว
3.7 ทำความสะอาด lap และ disc ใช้น้ำมันเครื่อง 2-3 หยด หยดลงบน lap ซึ่งยังคงมี lapping compound เหลืออยู่เล็กน้อย บดอีกครั้งจะได้ผิวเรียบเป็นมัน เป็นอันว่าเสร็จสิ้น
3.8 เวลาบดวาล์ว เมื่อรู้สึกว่าการบดเริ่มฝืด เนื่องจากเกิดการแห้ง ให้เติมน้ำมันหยดลงไปเล็กน้อย, lapping compound ชนิดหยาบต้องใช้น้ำมันมากกว่าชนิดละเอียด
3.9 การบดหน้าสัมผัส seat ถ้าสามารถถอดออกจาก vale body ได้ก็ให้ทำเหมือนการบด disc, ได้แล้วจึงบด วิธีการเดียวกับการบด disc
3.10 การบดหน้าสัมผัสต้องการบดไปผสมเวลานำเข้าใช้งานอีกครั้ง
3.11 อย่าลืมเอาสิ่งของที่อุดไว้ในข้อ 3.10 ออก
3.12 ในการประกอบ parallel slide gate valve ต้องอัด disc ทั้ง 2 ชิ้นให้ติดกัน ก่อนประกอบ การอัดนิยมใช้ c-clamp และไม้รอง เพื่อป้องกันการขูดขีดหน้า discที่เรียบแล้วมีรอยอีก
3.13 ในงานใช้ parallel slide gate valve กับของไหลที่มีความดันและอุณหภูมิสูงจำเป็นต้องเปลี่ยน flexitalic หรือ spiral wound gasket ระหว่าง bonnet กับ body การกวด bolt ยืดระหว่าง bonnet กับ body ให้ทำอย่างระมัดระวังไม่ให้มีการรั่วได้ ให้สอบถามจากผู้ควบคุมงานเสนอ
       โดยปกติบริษัทผู้ผลิตมักผลิต gasket ให้หนากว่าขนาดที่บอกไว้ เช่น ขนาด 1/8 นิ้ว (0.125 นิ้ว) หรือประมาณ 3.175 มิลลิเมตร จะหนาจริงๆ ก่อนใช้งาน 0.150 นิ้ว หรือประมาณ 3.81 มิลลิเมตร และเมื่อนำไปใช้งานกวดอัดเข้าไปจะยุบตัวไปอีกประมาณ 0.03 นิ้ว หรือประมาณ 0.762 มิลลิเมตร เป็นต้น
สำหรับงานที่ความดันและอุณหภูมิสูงมากๆ จะใช้ seal เหล็กเป็นรูปกรวย (pressure seal gasket) ทำการอัดทั้งนี้จะใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อกวดอัดแล้ว รูปกรวยจะบี้ติดกันสนิท เมื่อถอดออกจากกันไม่สามารถประกอบให้สนิทได้อีก โอกาสรั่วมีมากจึงต้องเปลี่ยน pressure seal gasket ทุกครั้งเมื่อถอดออกตรวจสอบ
      การใช้งานของ gate valve สามารถใช้กับไอน้ำความดันสูงๆ ถึง 600-900-1,500 หรือ 2,500 ปอนต์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องออกแบบกันเป็นพิเศษกันเลยที่เดียว เมื่อท่านเข้าทำงานย่อมจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น  

ภาพประกอบการบดหน้าสัมผัส Gate valve 



















วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โกลบวาล์ว (Globe valve)

1.     ข้อมูลทั่วๆ ไป
1.1             โกลบวาล์ว ทุกตัวออกแบบมาให้ปรับอัตราการไหล โดยการควบคุมที่ช่องว่างระหว่าง ดิสค์ (disc) และ ซีต (seat)
1.2             โกลบวาล์ว มี 2 ชนิด คือ
-         แบบปอร์ตเดียว (single port)
-         แบบปอร์ตคู่ (double port)
1.3             แบบปอร์ตเดียว (single port) ยังแบ่งออกเป็น
1.3.1      คอมโพซิชั่น ดิสค์ (composition disc)
        วัสดุที่ใช้ทำ เป็นพวก ยาง, ไฟเบอร์ หรือ วัสดุผสมต่างๆ
        ใช้งาน น้ำร้อน, น้ำเย็น, กรด, ด่างที่ไม่ร้อน
        ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
        ไม่ค่อยต้านการไหล
1.3.2      คอนเวนชั่นแนล ดิสค์ (conventional disc)
-         วัสดุที่ใช้ทำ เป็นพวกเหล็กชุบ, เสตนเลส, บราช, เสตนไลท์
-         แข็งแรง เปิด-ปิดง่าย
-         ปิดได้แน่นโอกาสรั่วมีน้อย
-         สำหรับงานที่ต้องใช้กับพวกที่มีอุณหภูมิสูงๆ หน้าวาล์ว บริเวณ disc และ seat จะเชื่อมพอกด้วยลวดโลหะแข็งพิเศษเสตนไลท์ (satellite) ส่วน body จะเป็นวัสดุเสตนเลสสตีล (stainless steel)
-         ควบคุมการไหลได้ดีพอสมควร
1.3.3      เทเปอร์ ปลั๊ก (taper plug) หรือ นีดเดอล์ วาล์ว (needle valve)
-         วัสดุที่ใช้ทำ พวกเหล็กชุบ, เหล็ก satellite, เหล็ก stainless
-         พื้นที่กันรั่ว (seal) มาก
-         ใช้กับงานปรับ ชนิดละเอียด
-         ใช้กับงานประเภทความดันสูง แต่ปริมาณการไหลต่ำ
-         ใช้ได้กับงานควบคุมการไหลที่ต้องการความน่นอนสูง
1.4             วาล์ว ที่ใช้งานกับอุณหภูมิๆ disc หรือ plug จะเป็นโลหะหมุนรอบตัวเองได้อิสระจากก้านวาล์ว เพื่อว่าเวลา เปิด-ปิด วาล์ว จะได้ไม่ไปขูดโดน seat เข้า, โกลบวาล์ว ส่วนใหญ่ seat จะออกแบบให้เปลี่ยนได้เวลาเสียหายหรือมีปัญหา
1.5             หากมีอาการรั่วเพียงนิดเดียวระหว่าง disc กับ seat จะทำให้เกิดความเสียหายได้โดยจะมองเห็นเป็นรอยกัดลึกในเนื้อโลหะเป็นเส้นคล้ายรอยที่เกิดจากเส้นลวด (wire drawing) เพราะความเร็วของของไหลที่ผ่านหน้า disc และ seat สูงถึง 700 ฟุตต่อวินาที (เร็วกว่าเสีย) บริเวณหน้า disc และ seat จึงเป็นรอยดังกล่าว
1.6             โกลบวาล์ว สามารถนำไปใช้งานในประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
-         ความดันสูง (high pressure)
-         ความร้อนสูง (high temperature)
-         ปรับปริมาณการไหล (regulating)
-         ตัดตอน (isolating) แต่ ไม่ค่อยถูกหลักจึงไม่ใช้เป็นตัวแรกที่ติดตั้งกับอุปกรณ์
-         ใช้กับ น้ำ, น้ำมัน, แก๊ส
-         ใช้กับไอน้ำ
1.7             ทิศทางการไหลใน โกลบวาล์ว จากล่างขึ้นบน ไม่ใช่จากบนลงล่าง
เหตุผล : 1. การไหลจากล่างขึ้นบน เวลาปิดวาล์ว ส่วนที่เป็น packing ไม่ต้องรับความดัน
            2. การไหลจากล่างขึ้นบนไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลมากนักทำให้ลดความดันระหว่างหน้า disc และ seat น้อย โอกาสที่จะเกิดการกัดกร่อนอันเนื่องมาจากการลดความดัน (cavitation) จึงน้อยด้วย
1.8 แองกูล่า โกลบ วาล์ว (angular globe valve) ทำให้การไหลมีสภาพดีขึ้น และงานซ่อมจะมีเฉพาะบริเวณ disc และ seat เท่านั้นอย่างอื่นไม่เสียหาย
1.9 single port globe valve (ปอร์ต เดี่ยว) เวลาใช้งานที่มีความดันสูงต้องใช้แรงบิดหมุนปิดสูงกว่าแบบ double port globe valve (ปอร์ตคู่) ฉะนั้นการใช้ double port globe valve จึงสามารถลดขนาด actuator ซึงหมายถึงลดค่าใช้จ่ายได้
2. โกลบวาล์วแบบปอต์คู่ (Double ported globe valve)
2.1 valve ชนิดนี้มี seat 2 ชุด เหตุผลเพื่อมิให้ packing ต้องรับความดันสูงขณะปิด
2.2 การใช้งานวาล์วประเภทนี้ต้องพิถีพิถันสูง เพราะบดยากซ่อมยาก และหากปิดแน่นเกินไปอาจทำให้รั่วได้ง่าย ฉะนั้น วาล์ว ชนิดนี้จะใช้งานเพื่อเบาหรือปรับควบคุมอย่างเดียวห้ามใช้เป็นวาล์วตัดตอน
2.3  Double port globe valve จะมีความดันสมดุลระหว่าง port ทั้ง 2 ฉะนั้น วาล์วยิ่งเล็กต้องใช้ actuator ปรับได้ละเอียด ในกรณีเปลี่ยนรูปร่างของ plug จะได้สภาพและปริมาณการไหลแตกต่างกันไป
2.4 การออกแบบ plug หรือ disc
2.4.1 ออกแบบให้เปิดได้รวดเร็ว (quick opening) ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเบาหรือปรับ
2.4.2 ออกแบบให้อัตราการไหลเป็นอัตราส่วนตรงกับการเปิด (linear) แต่กับงานพวกอุณหภูมิและความดันสูง plug มักจะร้าวได้ง่ายเนื่องจากรูปร่างไม่เหมาะสมจึงเป็นจุดออ่อน
2.4.3 ออกแบบให้อัตราการไหลผกเป็นเปอร์เซ็นต์กับการเปิด (equal percentage) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแบบ linear ให้สามารถทดแรงได้มากขึ้น จึงไม่ร้าว
3.     การตรวจสอบโกลบวาล์ว (Inspection of a globe valve)
3.1             ตรวจสอบภายนอกว่ามีอาการรั่วที่ก้านวาล์ว หรือไม่
3.2             ตรวจสอบก้านวาล์วในขณะเปิดสุด โดยให้สังเกตว่า
-         ก้านวาล์ว คด, งอ, ผุกร่อน, เป็นคราบรอยขุดขีดกินลึกหรือไม่
-         ดูเกลียวก้านวาล์ว และเกรียวที่ power nut ว่าเสียหายหรือไม่
3.3             ตรวจสอบ สตัด (stud) ที่ตัวกวด packing (dland follower) และตรวจว่ามีระยะห่างเหลือจาก stuffing box เท่าไร
3.4             ถ้าขณะวาล์ว ปิดสนิทยังมีการไหลได้ แสดงว่าหน้าวาล์วรั่ว
3.5             เวลาถอดให้เขียนขั้นตอนไว้ เวลาประกอบจะได้ทำกลับไปหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
3.6             การตรวจสอบสภาพภายใน (internal condition) ให้ดูและสังเกตสิ่งต่อไปนี้
-         พื้นที่บริเวณ seat ที่ใช้ในการปิด
-         ตรวจสอบรอยกัดอันเนื่องมาจากวาล์วรั่วที่ disc และ seat (wire drawing)
-         การสึกกร่อนอันเนื่องมาจากการลดความดัน (cavitation) ที่ valve body และ bonnet
3.7            ศัพท์ที่ควรศึกษา
-         wire drawing เกิดจากของไหลผ่านหน้า disc และ seat ในอัตราความเร็วประมาณ 700 ฟุตต่อวินาที (เร็วกว่าเสียง) ทำให้วาล์วรั่ว
-         cavitation เกิดจากการลดความดันผ่านหน้า disc และ seat มากเกินไปทำให้เกิดสภาพการปั่นป่วนอันทำใหเกิดการกัดกร่อนเนื้อโลหะไม่ว่าจะเป็น disc, seat หรือ body, bonnet
3.8            ข้อควรระวังขณะทำการซ่อมโกลบวาล์ว
-         โดยทั่วไปการ บดหน้าสัมผัสระหว่าง disc & seat ถ้า wire drawing ลึกเกินกว่า 0.015 นิ้ว หรือประมาณ 0.4 มิลลิเมตร ไม่ควนบดเพราะไม่คุ้ม และสภาพหน้าสัมผัสที่ได้จะไม่แข็งเหมือนเดิม
-         มีวาล์ว บางยี่ห้อ เช่น yarway ไม่ต้องบดแต่จะทำการคว้าน seat ออกโดยใช้เครื่องมือคว้าน, หลังจากใช้งานและคว้านไป 2/3 ของความลึก seat แล้ว จะต้องเปลี่ยน seat เพื่อมิให้เนื้อ body ของวาล์ว ถูกกัดกร่อนไป
3.9             ให้ทำการจดรายละเอียดการซ่อม เพื่อใช้ประโยชน์และเป็นประวัติในการซ่อมครั้งต่อๆ ไป
4.     งานซ่อมโกลบวาล์ว (Repair of globe valve)
4.1             งานซ่อมทั่วๆ ไป (general repair)
งานซ่อมก้านวาล์ว และ power nut
-         เอา packing ออก
-         หมุน valve stem ไปมาใน power nut จะต้องคล่อง ถ้าฝืดให้ถอด power และ stem ออก ทำความสะอาดและขัดให้เรียบร้อยแล้วใช้ยากันติด (anti seize compound) เช่น molybdenumdisulphide ทาทีเกลียวเป็นการหล่อลื่น
4.2             valve stem (ก้าน valve) จะต้องไม่มีรอย, ไม่สึก, ไม่มีรอยขูดหรืองอ
4.3             งานทำความสะอาดสำคัญมากขณะทำการซ่อม disc และ seat เพราะจะมีฝุ่งผงไม่ได้เลย ไม่เช่นนั้นอาจทำให้วาล์วรั่วได้อีก
Handwheel หรือ actuator ชนิดต่างๆ ได้ออกแบบมาให้พอเหมาะกับการเปิด-ปิดวาล์ว ห้ามใช้การต่อด้ามเพื่อเปิด-ปิดวาล์วโดยเด็ดขาด