วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีตรวจวัดปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ในรอยเชื่อม


            ปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ในรอยเชื่อมสามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
  1. ใช้เครื่องมือทางแม่เหล็ก (Magnetic device)
เฟสเฟอร์ไรต์จะเป็นสารแม่เหล็ก ขณะที่เฟสออสเทนไนต์ไม่เป็นสารแม่เหล็ก ซึ่งคุณสมบัติในข้อนี้สามารถนำมาใช้เป็นตัววัดปริมาณของเฟสเฟอร์ไรต์ในสเตนเลส โดยใช้เครื่องมือทางแม่เหล็ก และเครื่องมือวัดทางแม่เหล็กนี้จะเป็นตัวแสดงปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ (กรรมวิธีเปรียบเทียบแรงแม่เหล็ก) เกจแม่เหล็ก (วิธีวัดฟิลม์แม่เหล็ก) และเฟอร์ไรต์สโคป (กรรมวิธีเหนี่ยวนำ)
Ferritescope

  1. ใช้เฟสไดอะแกรม (Phase diagram)
ค่านิเกิลอีควิวาเลนท์ และโครเมียมอีควิวาเลนท์ ของโลหะจะถูกคำนวณ และปริมาณของเฟอร์ไรต์จะดูได้จากเฟสไดอะแกรม และเฟสไดอะแกรมที่นำมาใช้เปรียบเทียบคือ เชฟเลอร์ไดอะแกรม (Schaeffler’s diagram) และเดอร์ลองไดอะแกรม (Delong’s diagram) ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างไดอะแกรมทั้งสอง คือ เดอร์ลองไดอะแกรมจะนำค่าของไนโตรเจนมาใช้ในการหานิเกิลอีคิววาเลนท์ด้วย
เชฟเลอร์ไดอะแกรม (Schaeffler’s diagram)

เดอร์ลองไดอะแกรม (Delong’s diagram)

  1. วิเคราะห์จากภาพถ่ายด้วยกล้องไมโครสโคป (Microscope)
ปริมาณของเฟสเฟอร์ไรต์จะหาได้จากการวิเคราะห์หาเปอร์เซนต์พื้นที่ของโครงสร้างเฟสออสเทนไนต์กับเฟสเฟอร์ไรต์ในโครงสร้างเกรนของโลหะ
ดังที่กล่าวมา ปริมาณของเฟสเฟอร์ไรต์สามารถตรวจวัดได้หลายวิธี และค่าที่วัดได้อาจแตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับคุณสมบัติของการวัดในแต่ละวิธี และควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานด้วย
ภาพตัวอย่างโครงสร้างที่นำมาวิเคราะห์หาปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ในออสเทนไนต์

สรุป : ปริมาณของเฟสเฟอร์ไรต์มักถูกแสดงในรูปของเปอร์เซนต์ ซึ่งแสดงเลขเฟอร์ไรต์นัมเบอร์ (FN : Ferrite Number) โดยบอกปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์เป็นมาตรฐานที่แน่นอน กรรมวิธีการวัดปริมาณเฟสเฟอร์ไรต์ในรูปของ FN มีสองแบบคือ
-       ใช้เครื่องมือทางแม่เหล็ก
-       ใช้เฟสไดอะแกรม